วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน

เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน
จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร
ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม

ตอบ จุดเด่นของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ

- ทำให้การเรียนมี รสชาติ น่าสนใจ ตื่นเต้น อยากเรียนมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนในรายวิชานี้
- ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ weblog ซึ่งเป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย เหมาะกับการเป็นครูพันธุ์ใหม่ด้วย
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียน weblog ไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในการเป็นครูพันธุ์ใหม่ในอนาคตได้ และประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย
- การเรียนวิธีใช้ weblog ยังเป็นการเรียนที่ทันสมัย และสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาไม่จำเป็นต้องศึกษาในห้องเรียนเท่านั้น
- Weblog เป็นสื่อการเรียนที่กว้างไกล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และการศึกษาที่กว้างไกลไร้ขอบเขตนี้ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ทันสมัย อีกทั้งสามารถศึกษาได้ทั่วประเทศ
- สามารถเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นได้ศึกษาผ่าน weblog ได้อีกด้วย
- เป็นการเก็บสะสมผลงาน และโชว์ผลงานของเราให้กับผู้อื่นได้ชื่นชมด้วย
- Weblog เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้ที่สามารถสอนได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ เก่ง ฉลาด รอบรู้ และมีความทันสมัย
- การศึกษา weblog ถึงไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานี้ แต่อย่าลืมว่าการศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเสมอ

จุดด้อยของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ

- การใช้ weblog ในการเรียนรายวิชานี้ไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่เรียน

- ต้องเสียเวลาไปกับการตกแต่งหรือกรอกข้อมูลลงไปใน weblog

- ข้อมูลบางอย่างเราไม่สามารถเผยแพร่ทาง weblog ได้

- ในการทำ weblog ต้องใช้คอมพิวเตอร์และ internet จึงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง

ข้อเสนอแนะ

ผู้สอนควรสอนในรายวิชา นวัตกรรมทางการศึกษามากกว่าที่จะสอนในรายวิชานี้ แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่ผู้สอนได้สอนผม เพราะผมไม่รู้จัก weblog มาก่อน เมื่อได้ศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนแล้วทำให้ผมรู้สึกว่า ผมทันสมัย ภาคภูมิใจ เกิดองค์ความรู้ใหม่ และผมขอสัญญาว่าจะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนผู้ที่สนใจที่จะทำ weblog อีกด้วย สุดท้ายนี้ขอให้ผู้สอนมีสุขภาพกาย และใจที่สมบูรณ์แข็งแรง และประสบความสำเร็จต่อไป เป็นกำลังใจให้ ขอขอบคุณครับ

วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ข้อสอบ

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน

คำสั่ง ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมยกตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน อาจารย์จะอ่านข้อคิดเห็นที่เป็นเหตุเป็นผลต่อกัน เขียนในWeblog ให้ชวนอ่าน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร

ตอบ ผมขอแสดงความคิดเห็นว่า คนเราทุกคนย่อมมีข้อดีและข้อเสียกันทั้งนั้นสำหรับนายกทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้นำประเทศไทยก่อนอื่นเราควรรู้ถึงข้อดีและเสียก่อนว่าท่านเป็นอย่างไร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ข้อดีของท่านอดีตนายกทักษิณ
1. ท่านเป็นนักบริหารที่ฉลาด รอบคอบ
2. มีภาวะในการเป็นผู้นำสูง
3. สามารถทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เช่น ราคายางพารา ปาล์ม และสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น
4. มีโครงการ สามสิบบาทรักษาได้ทุกโรคแก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ
5. ต้านภัยเอาชนะยาเสพติด
6. โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี
7. หลังจากที่มีการดำเนินการต่างๆมากกว่า 30 ปี ท่านได้ดำเนินจัดสร้างอาคารคลังสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสามารถสร้างสนามบินสุวรรณภูมิจนสำเร็จ
8. เป็นนักกฎหมาย
9. เป็นคนร่ำรวย มีฐานะดี มีการศึกษาสูง    และอื่นๆอีกมากมาย
ข้อเสียของท่านอดีตนายกทักษิณ
1. เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่
2. หลบหนีคดี
3. ขาดคุณธรรมจริยธรรม
4. บ้ายศ และชื่อเสียง
5. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
     สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้อื่น หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียของท่านแล้วสามารถนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ กล่าวคือ จะเห็นได้ว่าความดีของท่านนั้นมีมากพอสมควรทำไมเราไม่มองสิ่งที่ดีเหล่านี้บ้างว่าท่านทำให้ประเทศมีความเจริญมากน้อยเพียงใดสำหรับข้อเสียของท่าน ล้วนแต่เกิดมาจากการขาดการมีสำนึกและคุณธรรมจริยธรรม ในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ผมจะสอนนักเรียนให้รู้จักบุญคุณแผ่นดิน สอนคนให้เป็นคน สอนให้รู้จักคำว่าทันสมัย รู้จักการมีสำนึกและคุณธรรมจริยธรรม และปลูกฝังค่านิยมไทย พร้อมไปกับการสอนการเป็นผู้นำที่ดี โดยเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรก หากเราปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้ดีแล้วประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็ประสบแก่ประเทศไทย
ตัวอย่าง 
ผู้นำที่ดีมีตั้งมากมาย ส่วนที่ดีของเขาก็ควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต เเละส่วนที่ไม่ดีควรทิ้งไป เช่น  พลเอกเปรม  นายชวน  หลีกภัย  เป็นต้น

ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง

ตอบ ผมมีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนในชั้นเรียนที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ผู้เรียนได้เกิดองค์ความรู้ที่ว่า เก่ง ดี มีสุข มากน้อยเพียงใด คำว่า “เก่ง – ดี – มีสุข” เป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก แม้แต่ผมเองยังพูดแต่คำว่า เก่ง - ดี - มีสุข แต่ความหมายจริง ๆ หมายความว่าอะไร ยังไม่รู้เลย ผมจึงหาความหมายของ เก่ง –ดี – มีสุข ในแง่ต่าง ๆ มาเพื่อเป็นการศึกษา
การศึกษา คำว่าเก่ง – ดี – มีสุข มีความหมายดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพทักษะปฏิบัติ คือ มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา
ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ
มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต
           สำหรับความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข โดยมีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้
1. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
- รู้ศักยภาพตนเอง
- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
- มีความมุมานะไปสู่เป้าหมาย
2. ตัดสินใจและแก้ปัญหา
- รับรู้และเข้าใจปัญหา
- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา
- มีความยืดหยุ่น
3. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
- แสดงความคิดเห็นขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้
1. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
2. เห็นใจผู้อื่น
- ใส่ใจผู้อื่น
- เข้าใจยอมรับผู้อื่น
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข ประกอบด้วย
1. ภูมิใจในตนเอง
- เห็นคุณค่าในตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
2. พึงพอใจในชีวิต
- มองโลกในแง่ดี
- มีอารมณ์ขัน
- พอใจในสิ่งมี่ตนมีอยู่
3. มีความสงบทางใจ
- มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
- รู้จักผ่อนคลาย
- มีความสงบทางจิตใจ
สรุปได้ว่า หากชั้นเรียนใดมีสิ่งเหล่านี้ก็แสดงเด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่ดีตามมาก็เท่ากับว่าการจัดการเรียนการสอนนั้นย่อมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
- การจัดค่ายคณิตศาสตร์
- การทัศนะศึกษา
เป็นต้น

ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร

ตอบ ในฐานะผมเป็นครูพันธ์ใหม่ ผมสามารถนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้ กล่าวคือ ปัจจุบันนี้โลกมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น อาจกล่าวได้ว่า “โลกไร้พรมแดน” ซึ่งเกิดจากนวัตกรรมทางการศึกษา ที่มีความแปลกใหม่มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน ดังนั้น นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ได้แก่
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
             คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ฐานะผมเป็นครูพันธ์ใหม่ ผมจะเอานวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนได้ดังรูปแบบนี้
       1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น
       2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog
4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์ และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์
 ตัวอย่าง
- ให้นักเรียนรู้จักการใช้อินเตอร์ในการค้นหาข้อมูลทางการศึกษา
- การจัดทำ weblog
- CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog
- ทำPowerPoint เพื่อนำเสนอ
เป็นต้น

ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร

ตอบ การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดการชั้นเรียน ดังนี้
         1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
           2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละคนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน
          3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
           ผมคิดว่าการประกันคุณภาพนั้นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปการเตรียมเพื่อการบริหารการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
          1. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจน และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้ประสานสอดคล้องด้วยความระมัดระวังในระหว่างที่เกิดการเปลี่ยนคาบสอนในตอนเริ่มต้นและสุดสิ้นการสอน
          2. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึดเหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน
          3. นอกเหนือจากการจะต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูก็ยังคงต้องเผชิญกับความยุ่งยากลำบากหรือนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่มักจะก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย
          4. ครูที่สามารถบริหารจัดการให้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไปสอดแทรกแก้ปัญหาโดยทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรมด้วย
5. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้ยอมรับในความสำคัญของอิทธิพลระหว่าง บุคคล คนแต่ละคนสามารถจะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ 5 วิธี คือ
5.1 ความสามารถในการควบคุมและให้รางวัลที่มีค่า
5.2 ความสามารถในการที่จะระงับการให้รางวัล
5.3 ความมีอำนาจโดยกฎหมาย ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติที่มีมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่
5.4 ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทาง
5.5 ความเป็นผู้มีเสน่ห์ หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีอิทธิพล
6. ครูสามารถจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ
7. วิธีการบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นต้นว่า การยืนยันความถูกต้องเกี่ยวกับความประพฤติ ความคาดหวัง เมื่อครูวางแผนกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ในห้องเรียนทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ก็คือ ครูกำลังตัดสินใจครั้งสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำให้เกิดผลต่อระบบบริหารจัดการชั้นเรียน ในทำนองเดียวกันทุกกลยุทธ์ที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สร้างผลผลิต เช่น การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม สร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และทำให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน
ตัวอย่าง
การวางเเผนจัดการในชั้นเรียน  เช่น การจัดห้องเรียน  การทำแบบประเมิน  การสรุปการบริหารชั้นเรียน  เป็นต้น

ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป

ตอบ สำหรับการประเมินผู้สอนมีดังนี้

ข้อดีของผู้สอน
- ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆยิ่งขึ้น เช่น ฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าความรู้ใหม่ๆจากอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- ผู้เรียนเกิดการรู้จักทำงานเป็นทีม เช่น การทำงานกลุ่ม การทำWeblog เป็นต้น
- ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ดียิ่งขึ้น
- ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย เช่น สามารถทำPowerPoint , การทำ Weblog เป็นต้น
- การใช้สื่อที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว เช่น การใช้โน้ตบุค เป็นต้น
- ผู้สอนสามารถอธิบายหรือสอนเกี่ยวกับการทำWeblogได้ดียิ่งขึ้น
- ผู้สอนสอนให้รู้จักแบ่งปันกัน เช่น เมื่อเพื่อนไม่มีโน้ตบุคผมก็ให้ยืมโน้ตบุค เป็นต้น
- ผู้สอนเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาได้ดีเยี่ยม เช่น การทำWeblog เป็นต้น
- ผู้สอนเป็นกันเองแก่นักศึกษา พยายามหาสิ่งใหม่ๆมาสอนแก่ผู้เรียน
- ตรงต่อเวลา
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- พูดจาไพเราะ
- เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน

ข้อเสียของผู้สอน
- มีเวลาน้อยในการสอนทำWeblog
- การสอนทำWeblogมีโน้ตบุคไม่เพียงพอต่อผู้เรียน
- อาจารย์สอนเร็วมาก
- ไม่มีการแนะนำจากการนำเสนองานของกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ
- ควรเรียนห้องคอมพิวเตอร์
- ควรมีเวลาเรียนมากยิ่งขึ้น
- ควรให้นักศึกษาออกโรงเรียนไปดูห้องเรียนเพื่อเรียนรู้สภาพจริง

ส่งไฟล์งานกลุ่มที่ 8

ส่งไฟล์รายงานกลุ่มที่ 8 โดยนายเอกชัย อะหลีแอ รหัส 023

วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 10 การจัดชั้นเรียนที่ดี










ความหมายของการจัดการในชั้นเรียน
การจัดการชั้นเรียนในความหมายโดยทั่วไปคือ การจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่า การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้

ความสำคัญของการจัดชั้นเรียน
กล่าวคือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การจัดการการเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
บรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้แก่นักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ทั้งกายภาพได้แก่ การตกแต่งห้องเรียน การจัดโต๊ะเรียน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การร่วมกันสร้างกฎกติกาของการเรียนรู้ในชั้นเรียน









การจัดชั้นเรียนให้บรรลุเป้าหมาย
ครูจะต้องดำเนินงานในสิ่งต่อไปนี้
1.การจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆในชั้นเรียน
2.การกำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของนักเรียนในชั้นเรียน
3.การกำหนดกฎระเบียบในชั้นเรียน
4.การเริ่มและการสิ้นสุดการสอนด้วยความราบรื่น
5.การจัดการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างชั่วโมงเรียน
6.การจัดการเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของนักเรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนให้น้อยที่สุด
7.การดำเนินงานให้การเรียนรู้เป็นไปในทางที่ครูได้กำหนดหรือวางแผนไว้
8.การดำเนินการเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตามความต้องการของนักเรียนแต่ละคน
งานในหน้าที่ครูด้านการจัดการเรียนเพื่อสร้างบรรยากาการเรียนรู้ เป็นงานที่ครูมีภารกิจสำคัญพอๆกับการจัดการเรียนรู้

ปัจจัยเงื่อนไขของความสำเร็จในการจัดชั้นเรียน
1. การจัดที่นั่งของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นอย่างไร
2. ปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนเป็นอย่างไร
3. การเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องของสมาชิกในชั้นเรียนจะทำได้ในกรณีใด
4. การรับรู้ถึงบรรณยากาศและระเบียบวินัยในภาพรวมเป็นอย่างไร

ลักษณะของการจัดการชั้นเรียนทางกายภาพที่ดี
- มีการจัดที่นั่งในชั้นเรียนอย่างชัดเจน เพื่อใช้อเนกประสงค์และเพื่อให้นักเรียนมั่นใจในการใช้พื้นที่ว่างของตน ตัวอย่างเช่น บริเวณที่มีการใช้วัสดุร่วมกัน ที่ว่างส่วนตัวจะทำงานโดยลำพัง เช่น โต๊ะแถวของนักเรียนแต่ละคน
- ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนมีปัญหาทั้งด้านการเรียนและด้านพฤติกรรม อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการแยกออกมาเพื่อให้นักเรียนสะดวก มีสมาธิในการทำงานตามลำพัง
มีทีว่างส่วนตัวของแต่ละคน และมีพื้นที่ส่วนบุคคลของนักเรียนทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ มีที่ว่างสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ
- ลักษณะที่นั่งเป็นแถว เพื่อสะดวกในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการ
- การที่นั่งลักษณะเป็นกลุ่ม จะทำให้นักเรียนมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม
- การจัดชั้นเรียนในบริเวณจำกัด และมีการใช้อย่างหนาแน่น ช่น บริเวณที่เหล่าดินสอ ที่วางถังขยะหลังห้อง ตลอดส่วนที่จะทำให้นักเรียนถูกรบกวนโดยง่าย ครูควรจัดให้นักเรียนนั่งห่างออกไป










สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดที่นั่งของนักเรียนและครู
- การจัดที่นั่งของนักเรียน
สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องคำนึงถึง คือ การเลือกรูปแบบการจัดโต๊ะนักเรียนให้เหมาะสมกับวิธีการสอนของครู และการจัดที่ว่างสำหรับการเคลื่อนที่ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม ถ้าชั้นเรียนใดมีผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมด้วยครูควรพิจารณาจัดที่นั่งสำหรับผ้เรียนาเหล่านี้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน เช่น ผู้เรียนทีมีปัญหาสายตา
- การจัดที่นั่งสำหรับครู
การจัดโต๊ะและที่นั่งของครูถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดบรรยากาสในชั้นเรียน
กล่าวโดยสรุป การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนการสอนและเกิดความศรัทธาในครูผู้สอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา โดยปรับบุคลิกภาพความเป็นครูให้เหมาะสมปรับ

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 9 ผู้นำที่ดี

ประวัติ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2482 เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี บิดาคือ นายอารีย์ ตันติเวชกุล อดีตส.ส.นครราชสีมา 5 สมัย และอดีตรมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมารดา คือ ท่านผู้หญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ซึ่งเป็นต้นเครื่องพระกระยาหารไทยของพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน


การดำเนินชีวิต
ชีวิตสมรสของ ดร.สุเมธ ท่านสมรสกับ คุณหญิงจินตนา ตันติเวชกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบุตรชาย 2 คน คือ นายณิชศีล และนายอรวัต ตันติเวชกุล

การทำงาน
หากกล่าวถึงการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งท่านที่มักจะถูกเชื้อเชิญให้เป็นผู้บรรยาย ถ่ายทอดความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งจากประสบการณ์ในการถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกเสียจาก "ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล" ผู้มีปรัชญาในการดำรงชีวิตที่น่าสนใจ คือ ทำเพราะต้องการทำ ทำเพราะเต็มใจ ทำเพราะมีความสุขที่ทำ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่ดร.สุเมธ ทำงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลายโอกาส สะสมความรู้จากหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ถ่ายทอดออกสู่ประชาชนในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะเมื่อย้อนไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนคงรู้สึกถึงสภาพบ้านเมืองที่ไม่นิ่ง หลายคนสับสน และกังวล ยึดติดอยู่กับระบบทุนนิยมจนเกินไป ดร.สุเมธ จึงได้ถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังให้ประชาชนน้อมนำแนวพระราชดำรัสดังกล่าวจากในหลวงไปประยุกต์ใช้กับตนเองให้เหมาะสม
สำหรับประวัติการทำงานมีดังนี้
- พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
-พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สหพัฒน์)
- พ.ศ. 2540-2542 กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- พ.ศ. 2548-ปัจจุบันนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
-ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
การศึกษา
การศึกษาของ ดร.สุเมธ เริ่มต้นที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จนจบมัธยม จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี โท และเอก ในหลายสาขา อาทิ ปรัชญา รัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยยมองเปลิเอ และมหาวิทยาลัยเกรอนอบ ยังได้รับประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ฝรั่งเศส รวมถึงประกาศนียบัตรทางการพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
สำหรับประวัติการศึกษามีลำดับมีดังนี้
- วชิราวุธวิทยาลัย
-ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียตนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
-ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
-ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองแปลลิเย (Université de Montpellier)ประเทศฝรั่งเศส
-ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
-ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
-วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
-วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23

การก้าวหน้าเป็นผู้นำ
เพราะโอกาสที่ได้เดินทางไปดูงานด้านการพัฒนาในหลายๆ ประเทศ ส่งผลให้ ดร.สุเมธ มีบทบาทในด้านการวางแผน วิเคราะห์นโยบายทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญมากมาย เช่น พ.ศ.2537 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาระหน้าที่ของ ดร.สุเมธ ที่ยังปฏิบัติอยู่จนถึงทุกวันนี้ มีทั้ง นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานมูลนิธิไทยใสสะอาด และที่สำคัญเป็นกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา
หลายสถาบัน องค์กร ได้เชิญดร.สุเมธ ขึ้นบรรยายให้ผู้ฟังตระหนัก เข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม ดร.สุเมธ ยังถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าประทับใจไว้ในหนังสือ 2 เล่ม คือ ใต้เบื้องพระยุคลบาท และหลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท

ผลงาน
จากคุณประโยชน์ ที่ดร.สุเมธได้ปฏิบัติ ทำให้หลายหน่วยงาน มอบรางวัล โล่ประกาศเกียรติคุณมากมาย อาทิ ได้เป็นบุคคลตัวอย่างในความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และจงรักภัคดี ประจำปี 2537 จากมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายระดับ, ได้รางวัลผู้บริหารราช ดีเด่น ประจำปี 2538 ,ได้รางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541