วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน
เรื่อง ขอให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมทุกคน
จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร
ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม
ตอบ จุดเด่นของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ
- ทำให้การเรียนมี รสชาติ น่าสนใจ ตื่นเต้น อยากเรียนมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนในรายวิชานี้
- ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ weblog ซึ่งเป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย เหมาะกับการเป็นครูพันธุ์ใหม่ด้วย
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียน weblog ไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในการเป็นครูพันธุ์ใหม่ในอนาคตได้ และประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย
- การเรียนวิธีใช้ weblog ยังเป็นการเรียนที่ทันสมัย และสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาไม่จำเป็นต้องศึกษาในห้องเรียนเท่านั้น
- Weblog เป็นสื่อการเรียนที่กว้างไกล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และการศึกษาที่กว้างไกลไร้ขอบเขตนี้ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ทันสมัย อีกทั้งสามารถศึกษาได้ทั่วประเทศ
- สามารถเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นได้ศึกษาผ่าน weblog ได้อีกด้วย
- เป็นการเก็บสะสมผลงาน และโชว์ผลงานของเราให้กับผู้อื่นได้ชื่นชมด้วย
- Weblog เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้ที่สามารถสอนได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ เก่ง ฉลาด รอบรู้ และมีความทันสมัย
- การศึกษา weblog ถึงไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานี้ แต่อย่าลืมว่าการศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเสมอ
จุดด้อยของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ
- การใช้ weblog ในการเรียนรายวิชานี้ไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่เรียน
- ต้องเสียเวลาไปกับการตกแต่งหรือกรอกข้อมูลลงไปใน weblog
- ข้อมูลบางอย่างเราไม่สามารถเผยแพร่ทาง weblog ได้
- ในการทำ weblog ต้องใช้คอมพิวเตอร์และ internet จึงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง
ข้อเสนอแนะ
ผู้สอนควรสอนในรายวิชา นวัตกรรมทางการศึกษามากกว่าที่จะสอนในรายวิชานี้ แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่ผู้สอนได้สอนผม เพราะผมไม่รู้จัก weblog มาก่อน เมื่อได้ศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนแล้วทำให้ผมรู้สึกว่า ผมทันสมัย ภาคภูมิใจ เกิดองค์ความรู้ใหม่ และผมขอสัญญาว่าจะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนผู้ที่สนใจที่จะทำ weblog อีกด้วย สุดท้ายนี้ขอให้ผู้สอนมีสุขภาพกาย และใจที่สมบูรณ์แข็งแรง และประสบความสำเร็จต่อไป เป็นกำลังใจให้ ขอขอบคุณครับ
จากที่เธอได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้WeblogหรือฺBlog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร
ให้แสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ เพื่อจะนำไปพัฒนาใช้ในโอกาสต่อไป แสดงความคิดเห็นให้ก่อนสอบจะเป็นคะแนนช่วยเพิ่มเติ่ม
ตอบ จุดเด่นของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ
- ทำให้การเรียนมี รสชาติ น่าสนใจ ตื่นเต้น อยากเรียนมากยิ่งขึ้น ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อหน่ายกับการเรียนในรายวิชานี้
- ทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ weblog ซึ่งเป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่ทันสมัย เหมาะกับการเป็นครูพันธุ์ใหม่ด้วย
- ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการเรียน weblog ไปประยุกต์ใช้เป็นสื่อการเรียนการสอนในการเป็นครูพันธุ์ใหม่ในอนาคตได้ และประกอบเป็นอาชีพเสริมได้ด้วย
- การเรียนวิธีใช้ weblog ยังเป็นการเรียนที่ทันสมัย และสามารถศึกษาค้นคว้าได้ตลอดเวลาไม่จำเป็นต้องศึกษาในห้องเรียนเท่านั้น
- Weblog เป็นสื่อการเรียนที่กว้างไกล ทำให้ผู้เรียนมีความรู้ที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น และการศึกษาที่กว้างไกลไร้ขอบเขตนี้ทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ทันสมัย อีกทั้งสามารถศึกษาได้ทั่วประเทศ
- สามารถเผยแพร่ความรู้ให้ผู้อื่นได้ศึกษาผ่าน weblog ได้อีกด้วย
- เป็นการเก็บสะสมผลงาน และโชว์ผลงานของเราให้กับผู้อื่นได้ชื่นชมด้วย
- Weblog เป็นนวัตกรรมใหม่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยผู้ที่สามารถสอนได้นั้นต้องเป็นผู้ที่ เก่ง ฉลาด รอบรู้ และมีความทันสมัย
- การศึกษา weblog ถึงไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ในรายวิชานี้ แต่อย่าลืมว่าการศึกษาไม่จำเป็นต้องเรียนในห้องเรียนเสมอ
จุดด้อยของการเรียนวิชาการจัดการในชั้นเรียนโดยใช้ weblog คือ
- การใช้ weblog ในการเรียนรายวิชานี้ไม่สอดคล้องกับแผนการจัดการเรียนรู้ของรายวิชาที่เรียน
- ต้องเสียเวลาไปกับการตกแต่งหรือกรอกข้อมูลลงไปใน weblog
- ข้อมูลบางอย่างเราไม่สามารถเผยแพร่ทาง weblog ได้
- ในการทำ weblog ต้องใช้คอมพิวเตอร์และ internet จึงเป็นปัญหาสำหรับผู้ที่ไม่มีคอมพิวเตอร์เป็นของตัวเอง
ข้อเสนอแนะ
ผู้สอนควรสอนในรายวิชา นวัตกรรมทางการศึกษามากกว่าที่จะสอนในรายวิชานี้ แต่ผมคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีมากที่ผู้สอนได้สอนผม เพราะผมไม่รู้จัก weblog มาก่อน เมื่อได้ศึกษาจากอาจารย์ผู้สอนแล้วทำให้ผมรู้สึกว่า ผมทันสมัย ภาคภูมิใจ เกิดองค์ความรู้ใหม่ และผมขอสัญญาว่าจะนำความรู้ที่อาจารย์สอนไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะนำความรู้ที่ได้ไปสอนผู้ที่สนใจที่จะทำ weblog อีกด้วย สุดท้ายนี้ขอให้ผู้สอนมีสุขภาพกาย และใจที่สมบูรณ์แข็งแรง และประสบความสำเร็จต่อไป เป็นกำลังใจให้ ขอขอบคุณครับ
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ข้อสอบ
ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงในWeblog ของนักเรียนแต่ละคน
ข้อที่ 1 กรณีที่เกิดความวุ่ยวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีและข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียท่านจะนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ ผมขอแสดงความคิดเห็นว่า คนเราทุกคนย่อมมีข้อดีและข้อเสียกันทั้งนั้นสำหรับนายกทักษิณ ชินวัตร อดีตผู้นำประเทศไทยก่อนอื่นเราควรรู้ถึงข้อดีและเสียก่อนว่าท่านเป็นอย่างไร ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
ข้อดีของท่านอดีตนายกทักษิณ
1. ท่านเป็นนักบริหารที่ฉลาด รอบคอบ
2. มีภาวะในการเป็นผู้นำสูง
3. สามารถทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น เช่น ราคายางพารา ปาล์ม และสินค้าทางการเกษตร เป็นต้น
4. มีโครงการ สามสิบบาทรักษาได้ทุกโรคแก่โรงพยาบาลทั่วประเทศ
5. ต้านภัยเอาชนะยาเสพติด
6. โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย เป็นเวลา 3 ปี
7. หลังจากที่มีการดำเนินการต่างๆมากกว่า 30 ปี ท่านได้ดำเนินจัดสร้างอาคารคลังสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสามารถสร้างสนามบินสุวรรณภูมิจนสำเร็จ
8. เป็นนักกฎหมาย
9. เป็นคนร่ำรวย มีฐานะดี มีการศึกษาสูง และอื่นๆอีกมากมาย
ข้อเสียของท่านอดีตนายกทักษิณ
1. เอาความคิดตัวเองเป็นใหญ่
2. หลบหนีคดี
3. ขาดคุณธรรมจริยธรรม
4. บ้ายศ และชื่อเสียง
5. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
สิ่งเหล่านี้เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมแก่ผู้อื่น หากพิจารณาข้อดีและข้อเสียของท่านแล้วสามารถนำมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้ กล่าวคือ จะเห็นได้ว่าความดีของท่านนั้นมีมากพอสมควรทำไมเราไม่มองสิ่งที่ดีเหล่านี้บ้างว่าท่านทำให้ประเทศมีความเจริญมากน้อยเพียงใดสำหรับข้อเสียของท่าน ล้วนแต่เกิดมาจากการขาดการมีสำนึกและคุณธรรมจริยธรรม ในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ผมจะสอนนักเรียนให้รู้จักบุญคุณแผ่นดิน สอนคนให้เป็นคน สอนให้รู้จักคำว่าทันสมัย รู้จักการมีสำนึกและคุณธรรมจริยธรรม และปลูกฝังค่านิยมไทย พร้อมไปกับการสอนการเป็นผู้นำที่ดี โดยเริ่มจากครอบครัวเป็นอันดับแรก หากเราปลูกฝังสิ่งเหล่านี้ได้ดีแล้วประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็ประสบแก่ประเทศไทย
ตัวอย่าง
ผู้นำที่ดีมีตั้งมากมาย ส่วนที่ดีของเขาก็ควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำรงชีวิต เเละส่วนที่ไม่ดีควรทิ้งไป เช่น พลเอกเปรม นายชวน หลีกภัย เป็นต้น
ข้อที่ 2 การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธิภาพท่านจะมีวิธีคิดอย่างไรหากท่านเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นที่ครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ ผมมีความคิดเห็นว่า การจัดการเรียนในชั้นเรียนที่ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดคือ ผู้เรียนได้เกิดองค์ความรู้ที่ว่า เก่ง ดี มีสุข มากน้อยเพียงใด คำว่า “เก่ง – ดี – มีสุข” เป็นคำที่เริ่มต้นจากฝ่ายการศึกษา ต่อมาได้มีผู้นำไปใช้อย่างแพร่หลายเพราะเป็นคำพูดง่ายติดปาก แม้แต่ผมเองยังพูดแต่คำว่า เก่ง - ดี - มีสุข แต่ความหมายจริง ๆ หมายความว่าอะไร ยังไม่รู้เลย ผมจึงหาความหมายของ เก่ง –ดี – มีสุข ในแง่ต่าง ๆ มาเพื่อเป็นการศึกษา
การศึกษา คำว่าเก่ง – ดี – มีสุข มีความหมายดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถทางพุทธิปัญญา คือ ความรู้ความเข้าใจที่แจ่มแจ้งสามารถนำไปใช้ได้ วิเคราะห์เป็น สังเคราะห์ได้ ประเมินได้อย่างเข้าใจ และรู้แจ้งตามศักยภาพทักษะปฏิบัติ คือ มีความรู้แจ้งแล้วยังมีความชำนาญปฏิบัติได้เป็นอย่างดี ทั้งที่เป็นทั้งทักษะฝีมือและทักษะทางปัญญา
ดี หมายถึง เป็นผู้มีเจตคตินิยมที่ดีทั้งต่อการเรียน ความเป็นอยู่ต่อบุคคล ต่อสังคม ชุมชน และประเทศ
มีสุข หมายถึง สนุกกับการเรียนและใคร่เรียนรู้ตลอดชีวิต
สำหรับความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข โดยมีองค์ประกอบความฉลาดทางอารมณ์ดังนี้
เก่ง หมายถึง ความสามารถในการรู้จักตนเอง มีแรงจูงใจ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาและแสดงออกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ดีกับผู้อื่น ประกอบด้วยความสามารถดังต่อไปนี้
1. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
- รู้ศักยภาพตนเอง
- สร้างขวัญและกำลังใจให้ตนเองได้
- มีความมุมานะไปสู่เป้าหมาย
2. ตัดสินใจและแก้ปัญหา
- รับรู้และเข้าใจปัญหา
- มีขั้นตอนในการแก้ปัญหา
- มีความยืดหยุ่น
3. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
- กล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม
- แสดงความคิดเห็นขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
ดี หมายถึง ความสามารถในการควบคุมอารมณ์และความต้องการตนเอง รู้จักเห็นใจผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อส่วนร่วม ประกอบด้วยความสามารถต่อไปนี้
1. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
- รู้อารมณ์และความต้องการของตนเอง
- ควบคุมอารมณ์และความต้องการได้
2. เห็นใจผู้อื่น
- ใส่ใจผู้อื่น
- เข้าใจยอมรับผู้อื่น
- เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
สุข หมายถึง ความสามารถในการดำเนินชีวิตอย่างมีสุข ประกอบด้วย
1. ภูมิใจในตนเอง
- เห็นคุณค่าในตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
2. พึงพอใจในชีวิต
- มองโลกในแง่ดี
- มีอารมณ์ขัน
- พอใจในสิ่งมี่ตนมีอยู่
3. มีความสงบทางใจ
- มีกิจกรรมที่เสริมสร้างความสุข
- รู้จักผ่อนคลาย
- มีความสงบทางจิตใจ
สรุปได้ว่า หากชั้นเรียนใดมีสิ่งเหล่านี้ก็แสดงเด็กได้เกิดการเรียนรู้ที่ดีตามมาก็เท่ากับว่าการจัดการเรียนการสอนนั้นย่อมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง
- การจัดค่ายคณิตศาสตร์
- การทัศนะศึกษา
เป็นต้น
ข้อที่ 3 ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะผมเป็นครูพันธ์ใหม่ ผมสามารถนำนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้ กล่าวคือ ปัจจุบันนี้โลกมีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น อาจกล่าวได้ว่า “โลกไร้พรมแดน” ซึ่งเกิดจากนวัตกรรมทางการศึกษา ที่มีความแปลกใหม่มากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอนเพื่อให้สอดคล้องกับโลกปัจจุบัน ดังนั้น นวัตกรรมมีความสำคัญต่อการศึกษาหลายประการ ได้แก่
1. เพื่อให้ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
2. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาบางอย่างที่เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อแก้ไขปัญหาทางด้านการศึกษาในบางเรื่อง เช่น ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับจำนวนผู้เรียนที่มากขึ้น การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย การผลิตและพัฒนาสื่อใหม่ ๆ ขึ้นมา
4. เพื่อตอบสนองการเรียนรู้ของมนุษย์ให้เพิ่มมากขึ้นด้วยระยะเวลาที่สั้นลง
5. การใช้นวัตกรรมมาประยุกต์ในระบบการบริหารจัดการด้านการศึกษาก็มีส่วนช่วยให้การใช้ทรัพยากรการเรียนรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
คนเรานั้นจะต้องมี นวัตกรรม คือต้อง innovative หรือต้องรู้จักสร้างสรรค์ ต้องมีความพร้อมที่จะก้าวไปข้างหน้า ปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงของโลก แต่ว่าก็ต้องสามารถปรับโลกให้เหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นอยู่หรือความพอใจความสุขสบายของตัวเองเหมือนกัน ต้องแก้ปัญหาด้วยความคิด พอทางหนึ่งตันก็ต้องหาทางใหม่ ไม่งอมืองอเท้ายิ่งใน ภาวะวิกฤต ยิ่งต้องการนวัตกรรม ซึ่งไม่เฉพาะแต่นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่เป็นนวัตกรรมของทั้งระบบโดยรวม ตั้งแต่สังคม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตหรือวัฒนธรรม ฐานะผมเป็นครูพันธ์ใหม่ ผมจะเอานวัตกรรมมาใช้ในการเรียนการสอนได้ดังรูปแบบนี้
1. นวัตกรรมทางด้านหลักสูตร เช่น หลักสูตรบูรณาการ หลักสูตรรายบุคคล หลักสูตรกิจกรรมและประสบการณ์ หลักสูตรท้องถิ่น
2. นวัตกรรมการเรียนการสอน เช่น การสอนแบบศูนย์การเรียน การใช้กระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบเรียนรู้ร่วมกัน และการเรียนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต
3. นวัตกรรมสื่อการสอน เช่น CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog
4. นวัตกรรมการประเมินผล เช่น การพัฒนาคลังข้อสอบ การลงทะเบียนผ่านทางเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต การใช้บัตรสมาร์ทการ์ด เพื่อการใช้บริการของสถาบันศึกษา การใช้คอมพิวเตอร์ในการตัดเกรด
5. นวัตกรรมการบริหารจัดการ เช่น ฐานข้อมูล นักเรียน นักศึกษา ฐานข้อมูล คณะอาจารย์ และบุคลากร ในสถานศึกษา ด้านการเงิน บัญชี พัสดุ และครุภัณฑ์
ตัวอย่าง
- ให้นักเรียนรู้จักการใช้อินเตอร์ในการค้นหาข้อมูลทางการศึกษา
- การจัดทำ weblog
- CAI WBI WBT VC WebQuest Webblog
- ทำPowerPoint เพื่อนำเสนอ
เป็นต้น
ข้อที่ 4 การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ การบริหารจัดการชั้นเรียน ประกอบด้วย ความคิดทั้งหมดทั้งหลายของครู การวางแผน การปฏิบัติของครูในการริเริ่มสร้างสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเป็นลำดับขั้นตอน มีงานวิจัยจำนวนมากที่ชี้ให้เห็นว่าการบริหารจัดการชั้นเรียนที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และความสัมพันธ์ของทั้งสององค์ประกอบเป็นความสัมพันธ์แบบ SYNERGISTIC คือ การรวมพลังให้เกิดผลลัพธ์ที่มากขึ้น นั่นคือ ความสำเร็จของการบริหารจัดการชั้นเรียน จะมีอิทธิพลต่อการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูทำให้แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดการชั้นเรียน ดังนี้
1. การบริหารจัดการชั้นเรียน และการเรียนการสอนเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์ ซึ่งกันและกัน การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่ใช่จุดหมายปลายทาง แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของบทบาทความเป็นผู้นำของครู การบริหารจัดการชั้นเรียนไม่สามารถแยกจากหน้าที่การสอน เมื่อการวางแผนการสอน ก็คือ การที่ครูกำลังวางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
2. เป็นไปไม่ได้ที่จะแยกการบริหารจัดการชั้นเรียนกับการทำหน้าที่การจัดการเรียนการสอน รูปแบบการสอนหรือกลยุทธ์ที่ครูเลือกใช้แต่ละรูปแบบก็มีระบบการบริหารจัดการของมันเองและมีภารกิจเฉพาะของรูปแบบหรือกลยุทธ์นั้น ๆ ที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทั้งของครูและนักเรียน เช่น ถ้าครูจะบรรยายก็จำเป็นที่บทเรียนจะต้องมีความตั้งใจฟัง ถ้าจะให้นักเรียนทำงานกลุ่มวิธีการก็จะแตกต่างจากการทำงานโดยลำพังของแต่ละคนอย่างน้อยที่สุดก็คือการนั่ง ดังนั้นภารกิจการสอนจึงเกี่ยวข้องทั้งปัญหาการจัดลำดับวิธีการสอน ปัญหาของการจัดการในชั้นเรียนปัญหาการจัดนักเรียนให้ปฏิบัติตามกิจกรรม ครูที่วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนได้อย่างเหมาะสม ทั้งกิจกรรมการเรียนการสอนและภารกิจ ก็คือ การที่ครูใช้การตัดสินใจอย่างฉลาดทั้งเวลา บรรยากาศทางกายภาพ และจิตวิทยา ซึ่งจะทำให้เกิดบรรยากาศการเรียนรู้และลดปัญหาด้านวินัยของนักเรียน
3. การบริหารชั้นเรียนเป็นความท้าทายของการเป็นครูมืออาชีพ ความสามารถของครูในการแสดงภาวะผู้นำ ด้วยการที่สามารถจะบริหารการจัดชั้นเรียนทั้งด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ การบริหารจัดการบรรยากาศในห้องเรียน การดูแลพฤติกรรมด้านวินัยให้เกิดการร่วมมือในการเรียนจนเกิดการเรียนรู้ และมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตร
ผมคิดว่าการประกันคุณภาพนั้นต้องมีการเตรียมตัวเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสรุปการเตรียมเพื่อการบริหารการจัดการห้องเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบดังต่อไปนี้
1. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะสร้างข้อกำหนดที่ชัดเจนและมีขั้นตอนการปฏิบัติที่จะนำไปสู่พฤติกรรมที่ชัดเจน และจัดกิจกรรมในห้องเรียนให้ประสานสอดคล้องด้วยความระมัดระวังในระหว่างที่เกิดการเปลี่ยนคาบสอนในตอนเริ่มต้นและสุดสิ้นการสอน
2. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะพัฒนาระบบในการยึดเหนี่ยวนักเรียนให้รับผิดชอบการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน
3. นอกเหนือจากการจะต้องมีทักษะในการวางแผนและการดำเนินการให้เกิดความสอดคล้อง ครูก็ยังคงต้องเผชิญกับความยุ่งยากลำบากหรือนักเรียนที่ไม่ตั้งใจเรียนที่มักจะก่อกวนมากกว่าจะร่วมมือในกิจกรรมการเรียนรู้อีกด้วย
4. ครูที่สามารถบริหารจัดการให้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีทักษะในการเข้าไปสอดแทรกแก้ปัญหาโดยทันท่วงทีกับนักเรียนที่สร้างปัญหาและต้องดำเนินการด้วยความยุติธรรมด้วย
5. ครูที่สามารถบริหารจัดการได้ยอมรับในความสำคัญของอิทธิพลระหว่าง บุคคล คนแต่ละคนสามารถจะมีอิทธิพลเหนือผู้อื่นได้ด้วยวิธีการ 5 วิธี คือ
5.1 ความสามารถในการควบคุมและให้รางวัลที่มีค่า
5.2 ความสามารถในการที่จะระงับการให้รางวัล
5.3 ความมีอำนาจโดยกฎหมาย ซึ่งเป็นทรัพย์สมบัติที่มีมาพร้อมกับตำแหน่งหน้าที่
5.4 ความเป็นผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้เฉพาะทาง
5.5 ความเป็นผู้มีเสน่ห์ หรือเป็นสมาชิกของกลุ่มที่มีอิทธิพล
6. ครูสามารถจะกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมที่คาดหวังได้ด้วยการยกย่องชมเชย การให้รางวัลและการลงโทษ
7. วิธีการบริหารจัดการชั้นเรียน เป็นต้นว่า การยืนยันความถูกต้องเกี่ยวกับความประพฤติ ความคาดหวัง เมื่อครูวางแผนกำหนดเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือพิจารณาว่าจะใช้พื้นที่ในห้องเรียนทำประโยชน์อะไรได้บ้าง ก็คือ ครูกำลังตัดสินใจครั้งสำคัญในการพิจารณาว่าจะทำให้เกิดผลต่อระบบบริหารจัดการชั้นเรียน ในทำนองเดียวกันทุกกลยุทธ์ที่จะสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ที่สร้างผลผลิต เช่น การช่วยให้ชั้นเรียนพัฒนาการทำงานเป็นกลุ่ม สร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และทำให้เกิดความซื่อสัตย์ จริงใจ เปิดเผย ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นองค์ประกอบสำคัญในการบริหารจัดการชั้นเรียน
ตัวอย่าง
การวางเเผนจัดการในชั้นเรียน เช่น การจัดห้องเรียน การทำแบบประเมิน การสรุปการบริหารชั้นเรียน เป็นต้น
ข้อที่ 5 ให้ผู้เรียนประเมินผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ สำหรับการประเมินผู้สอนมีดังนี้
ข้อดีของผู้สอน
- ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆยิ่งขึ้น เช่น ฝึกให้ผู้เรียนค้นคว้าความรู้ใหม่ๆจากอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
- ผู้เรียนเกิดการรู้จักทำงานเป็นทีม เช่น การทำงานกลุ่ม การทำWeblog เป็นต้น
- ผู้เรียนสามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ดียิ่งขึ้น
- ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้ที่หลากหลาย เช่น สามารถทำPowerPoint , การทำ Weblog เป็นต้น
- การใช้สื่อที่ทันสมัย สะดวก รวดเร็ว เช่น การใช้โน้ตบุค เป็นต้น
- ผู้สอนสามารถอธิบายหรือสอนเกี่ยวกับการทำWeblogได้ดียิ่งขึ้น
- ผู้สอนสอนให้รู้จักแบ่งปันกัน เช่น เมื่อเพื่อนไม่มีโน้ตบุคผมก็ให้ยืมโน้ตบุค เป็นต้น
- ผู้สอนเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาได้ดีเยี่ยม เช่น การทำWeblog เป็นต้น
- ผู้สอนเป็นกันเองแก่นักศึกษา พยายามหาสิ่งใหม่ๆมาสอนแก่ผู้เรียน
- ตรงต่อเวลา
- แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
- พูดจาไพเราะ
- เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
ข้อเสียของผู้สอน
- มีเวลาน้อยในการสอนทำWeblog
- การสอนทำWeblogมีโน้ตบุคไม่เพียงพอต่อผู้เรียน
- อาจารย์สอนเร็วมาก
- ไม่มีการแนะนำจากการนำเสนองานของกลุ่ม
ข้อเสนอแนะ
- ควรเรียนห้องคอมพิวเตอร์
- ควรมีเวลาเรียนมากยิ่งขึ้น
- ควรให้นักศึกษาออกโรงเรียนไปดูห้องเรียนเพื่อเรียนรู้สภาพจริง
วันพฤหัสบดีที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 10 การจัดชั้นเรียนที่ดี
การจัดการชั้นเรียนในความหมายโดยทั่วไปคือ การจัดสภาพของห้องเรียน ที่ส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าเป็นการจัดตกแต่งห้องเรียนทางวัตถุหรือทางกายภาพ ให้มีบรรยากาศ น่าเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนเท่านั้น ดังนั้นสรุปได้ว่า การจัดการชั้นเรียน เป็นพฤติกรรมการสอนที่ครูสร้างและคงสภาพเงื่อนไขของการเรียนรู้เพื่อช่วยให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลขึ้นในชั้นเรียนซึ่งถือเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้
ความสำคัญของการจัดชั้นเรียน
กล่าวคือการดำเนินการต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้รวมถึงการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมของนักเรียน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ของการเรียนการสอนตลอดจนบรรลุเป้าหมายของการศึกษา
การจัดการการเรียนเพื่อส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้
บรรยากาศการเรียนรู้ หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมให้แก่นักเรียนทั้งในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน ทั้งกายภาพได้แก่ การตกแต่งห้องเรียน การจัดโต๊ะเรียน การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน การร่วมกันสร้างกฎกติกาของการเรียนรู้ในชั้นเรียน
การจัดชั้นเรียนให้บรรลุเป้าหมาย
ครูจะต้องดำเนินงานในสิ่งต่อไปนี้
1.การจัดเก็บอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆในชั้นเรียน
2.การกำหนดลักษณะการเคลื่อนไหวของนักเรียนในชั้นเรียน
3.การกำหนดกฎระเบียบในชั้นเรียน
4.การเริ่มและการสิ้นสุดการสอนด้วยความราบรื่น
5.การจัดการเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนกิจกรรมในระหว่างชั่วโมงเรียน
6.การจัดการเกี่ยวกับการทำกิจกรรมของนักเรียน เริ่มจากการกระตุ้นให้นักเรียนสนใจบทเรียน และขจัดอุปสรรคหรือสิ่งที่จะรบกวนให้น้อยที่สุด
7.การดำเนินงานให้การเรียนรู้เป็นไปในทางที่ครูได้กำหนดหรือวางแผนไว้
8.การดำเนินการเพื่อให้นักเรียนพัฒนาตามความต้องการของนักเรียนแต่ละคน
งานในหน้าที่ครูด้านการจัดการเรียนเพื่อสร้างบรรยากาการเรียนรู้ เป็นงานที่ครูมีภารกิจสำคัญพอๆกับการจัดการเรียนรู้
ปัจจัยเงื่อนไขของความสำเร็จในการจัดชั้นเรียน
1. การจัดที่นั่งของนักเรียนในชั้นเรียนเป็นอย่างไร
2. ปฎิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียน หรือนักเรียนกับนักเรียนเป็นอย่างไร
3. การเคลื่อนที่ไปรอบๆห้องของสมาชิกในชั้นเรียนจะทำได้ในกรณีใด
4. การรับรู้ถึงบรรณยากาศและระเบียบวินัยในภาพรวมเป็นอย่างไร
ลักษณะของการจัดการชั้นเรียนทางกายภาพที่ดี
- มีการจัดที่นั่งในชั้นเรียนอย่างชัดเจน เพื่อใช้อเนกประสงค์และเพื่อให้นักเรียนมั่นใจในการใช้พื้นที่ว่างของตน ตัวอย่างเช่น บริเวณที่มีการใช้วัสดุร่วมกัน ที่ว่างส่วนตัวจะทำงานโดยลำพัง เช่น โต๊ะแถวของนักเรียนแต่ละคน
- ในชั้นเรียนที่มีนักเรียนมีปัญหาทั้งด้านการเรียนและด้านพฤติกรรม อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการแยกออกมาเพื่อให้นักเรียนสะดวก มีสมาธิในการทำงานตามลำพัง
มีทีว่างส่วนตัวของแต่ละคน และมีพื้นที่ส่วนบุคคลของนักเรียนทั้งกลุ่มใหญ่และกลุ่มเล็ก สำหรับทำกิจกรรมต่างๆ มีที่ว่างสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ต่างๆ
- ลักษณะที่นั่งเป็นแถว เพื่อสะดวกในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาวิชาการ
- การที่นั่งลักษณะเป็นกลุ่ม จะทำให้นักเรียนมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม
- การจัดชั้นเรียนในบริเวณจำกัด และมีการใช้อย่างหนาแน่น ช่น บริเวณที่เหล่าดินสอ ที่วางถังขยะหลังห้อง ตลอดส่วนที่จะทำให้นักเรียนถูกรบกวนโดยง่าย ครูควรจัดให้นักเรียนนั่งห่างออกไป
สิ่งที่ต้องคำนึงถึงในการจัดที่นั่งของนักเรียนและครู
- การจัดที่นั่งของนักเรียน
สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องคำนึงถึง คือ การเลือกรูปแบบการจัดโต๊ะนักเรียนให้เหมาะสมกับวิธีการสอนของครู และการจัดที่ว่างสำหรับการเคลื่อนที่ของผู้เรียนอย่างเหมาะสม ถ้าชั้นเรียนใดมีผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษเรียนร่วมด้วยครูควรพิจารณาจัดที่นั่งสำหรับผ้เรียนาเหล่านี้ให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนในแต่ละคน เช่น ผู้เรียนทีมีปัญหาสายตา
- การจัดที่นั่งสำหรับครู
การจัดโต๊ะและที่นั่งของครูถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีอิทธิพลต่อการจัดบรรยากาสในชั้นเรียน
กล่าวโดยสรุป การจัดบรรยากาศทางด้านจิตวิทยา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกที่ดีต่อการเรียนการสอนและเกิดความศรัทธาในครูผู้สอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงควรตระหนักถึงความสำคัญของการสร้างบรรยากาศทางจิตวิทยา โดยปรับบุคลิกภาพความเป็นครูให้เหมาะสมปรับ
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 9 ผู้นำที่ดี
ประวัติ
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2482 เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี บิดาคือ นายอารีย์ ตันติเวชกุล อดีตส.ส.นครราชสีมา 5 สมัย และอดีตรมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมารดา คือ ท่านผู้หญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ซึ่งเป็นต้นเครื่องพระกระยาหารไทยของพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
การทำงาน
หากกล่าวถึงการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งท่านที่มักจะถูกเชื้อเชิญให้เป็นผู้บรรยาย ถ่ายทอดความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งจากประสบการณ์ในการถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกเสียจาก "ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล" ผู้มีปรัชญาในการดำรงชีวิตที่น่าสนใจ คือ ทำเพราะต้องการทำ ทำเพราะเต็มใจ ทำเพราะมีความสุขที่ทำ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่ดร.สุเมธ ทำงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลายโอกาส สะสมความรู้จากหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ถ่ายทอดออกสู่ประชาชนในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะเมื่อย้อนไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนคงรู้สึกถึงสภาพบ้านเมืองที่ไม่นิ่ง หลายคนสับสน และกังวล ยึดติดอยู่กับระบบทุนนิยมจนเกินไป ดร.สุเมธ จึงได้ถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังให้ประชาชนน้อมนำแนวพระราชดำรัสดังกล่าวจากในหลวงไปประยุกต์ใช้กับตนเองให้เหมาะสม
สำหรับประวัติการทำงานมีดังนี้
- พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
-พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สหพัฒน์)
- พ.ศ. 2540-2542 กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- พ.ศ. 2548-ปัจจุบันนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
-ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2482 เป็นชาวจังหวัดเพชรบุรี บิดาคือ นายอารีย์ ตันติเวชกุล อดีตส.ส.นครราชสีมา 5 สมัย และอดีตรมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และมารดา คือ ท่านผู้หญิงประสานสุข ตันติเวชกุล ซึ่งเป็นต้นเครื่องพระกระยาหารไทยของพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน
การดำเนินชีวิต
ชีวิตสมรสของ ดร.สุเมธ ท่านสมรสกับ คุณหญิงจินตนา ตันติเวชกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบุตรชาย 2 คน คือ นายณิชศีล และนายอรวัต ตันติเวชกุล
ชีวิตสมรสของ ดร.สุเมธ ท่านสมรสกับ คุณหญิงจินตนา ตันติเวชกุล รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มีบุตรชาย 2 คน คือ นายณิชศีล และนายอรวัต ตันติเวชกุล
การทำงาน
หากกล่าวถึงการปฏิบัติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หนึ่งท่านที่มักจะถูกเชื้อเชิญให้เป็นผู้บรรยาย ถ่ายทอดความเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งจากประสบการณ์ในการถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกเสียจาก "ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล" ผู้มีปรัชญาในการดำรงชีวิตที่น่าสนใจ คือ ทำเพราะต้องการทำ ทำเพราะเต็มใจ ทำเพราะมีความสุขที่ทำ
ตั้งแต่ปี พ.ศ.2531 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงเวลาที่ดร.สุเมธ ทำงานกับมูลนิธิชัยพัฒนา ได้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในหลายโอกาส สะสมความรู้จากหลักการทรงงานของพระองค์ท่าน ถ่ายทอดออกสู่ประชาชนในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพราะเมื่อย้อนไปในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา หลายคนคงรู้สึกถึงสภาพบ้านเมืองที่ไม่นิ่ง หลายคนสับสน และกังวล ยึดติดอยู่กับระบบทุนนิยมจนเกินไป ดร.สุเมธ จึงได้ถ่ายทอดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หวังให้ประชาชนน้อมนำแนวพระราชดำรัสดังกล่าวจากในหลวงไปประยุกต์ใช้กับตนเองให้เหมาะสม
สำหรับประวัติการทำงานมีดังนี้
- พ.ศ. 2512 เข้าทำงานที่กองวางแผนเตรียมพร้อมด้านเศรษฐกิจ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
- พ.ศ. 2523 เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
-พ.ศ. 2524-2542 เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.)
- พ.ศ. 2537-2539 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สหพัฒน์)
- พ.ศ. 2540-2542 กรรมการร่างกฎหมาย คณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
- พ.ศ. 2548-ปัจจุบันนายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- พ.ศ. 2531-ปัจจุบัน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา
-ประธานมูลนิธิประเทศไทยใสสะอาด
การศึกษาของ ดร.สุเมธ เริ่มต้นที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย จนจบมัธยม จากนั้นเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศฝรั่งเศส สำเร็จการศึกษาทั้งระดับอนุปริญญา ปริญญาตรี โท และเอก ในหลายสาขา อาทิ ปรัชญา รัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยยมองเปลิเอ และมหาวิทยาลัยเกรอนอบ ยังได้รับประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ฝรั่งเศส รวมถึงประกาศนียบัตรทางการพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
สำหรับประวัติการศึกษามีลำดับมีดังนี้
- วชิราวุธวิทยาลัย
-ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียตนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
-ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
-ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองแปลลิเย (Université de Montpellier)ประเทศฝรั่งเศส
-ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
-ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
-วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
-วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23
สำหรับประวัติการศึกษามีลำดับมีดังนี้
- วชิราวุธวิทยาลัย
-ระดับมัธยมและอนุปริญญา ที่ประเทศเวียตนามและประเทศลาว ทุนรัฐบาลฝรั่งเศส
-ปริญญาตรีทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกรอนอบ ประเทศฝรั่งเศส
-ปริญญาโท-เอกทางรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมองแปลลิเย (Université de Montpellier)ประเทศฝรั่งเศส
-ประกาศนียบัตร การพัฒนาเศรษฐกิจ EDI ธนาคารโลก วอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา
-ประกาศนียบัตร การวางแผนเศรษฐกิจ IIAP สถาบันบริหารระหว่างประเทศ ปารีส ประเทศฝรั่งเศส
-วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ 28
-วิทยาลัยการทัพบก รุ่นที่ 23
การก้าวหน้าเป็นผู้นำ
เพราะโอกาสที่ได้เดินทางไปดูงานด้านการพัฒนาในหลายๆ ประเทศ ส่งผลให้ ดร.สุเมธ มีบทบาทในด้านการวางแผน วิเคราะห์นโยบายทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญมากมาย เช่น พ.ศ.2537 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาระหน้าที่ของ ดร.สุเมธ ที่ยังปฏิบัติอยู่จนถึงทุกวันนี้ มีทั้ง นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานมูลนิธิไทยใสสะอาด และที่สำคัญเป็นกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา
หลายสถาบัน องค์กร ได้เชิญดร.สุเมธ ขึ้นบรรยายให้ผู้ฟังตระหนัก เข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม ดร.สุเมธ ยังถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าประทับใจไว้ในหนังสือ 2 เล่ม คือ ใต้เบื้องพระยุคลบาท และหลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
เพราะโอกาสที่ได้เดินทางไปดูงานด้านการพัฒนาในหลายๆ ประเทศ ส่งผลให้ ดร.สุเมธ มีบทบาทในด้านการวางแผน วิเคราะห์นโยบายทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญมากมาย เช่น พ.ศ.2537 เป็นเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ภาระหน้าที่ของ ดร.สุเมธ ที่ยังปฏิบัติอยู่จนถึงทุกวันนี้ มีทั้ง นายกสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประธานมูลนิธิไทยใสสะอาด และที่สำคัญเป็นกรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิชัยพัฒนา
หลายสถาบัน องค์กร ได้เชิญดร.สุเมธ ขึ้นบรรยายให้ผู้ฟังตระหนัก เข้าใจอย่างเป็นรูปธรรม ดร.สุเมธ ยังถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าประทับใจไว้ในหนังสือ 2 เล่ม คือ ใต้เบื้องพระยุคลบาท และหลักธรรม หลักทำ ตามรอยพระยุคลบาท
ผลงาน
จากคุณประโยชน์ ที่ดร.สุเมธได้ปฏิบัติ ทำให้หลายหน่วยงาน มอบรางวัล โล่ประกาศเกียรติคุณมากมาย อาทิ ได้เป็นบุคคลตัวอย่างในความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และจงรักภัคดี ประจำปี 2537 จากมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายระดับ, ได้รางวัลผู้บริหารราช ดีเด่น ประจำปี 2538 ,ได้รางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541
จากคุณประโยชน์ ที่ดร.สุเมธได้ปฏิบัติ ทำให้หลายหน่วยงาน มอบรางวัล โล่ประกาศเกียรติคุณมากมาย อาทิ ได้เป็นบุคคลตัวอย่างในความซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ และจงรักภัคดี ประจำปี 2537 จากมูลนิธิรัฐบุรุษ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์, ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์หลายระดับ, ได้รางวัลผู้บริหารราช ดีเด่น ประจำปี 2538 ,ได้รางวัลบุคคลดีเด่นแห่งชาติ สาขาพัฒนาเศรษฐกิจ พ.ศ. 2541
วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 8
ให้ผู้เรียนสรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9-10-11-12 ลงในบล็อกของผู้เรียนอย่างย่อ ๆ
ตอบ สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา จึงสรุปได้คือ
ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หรือองค์กรเอกชนทั่วไป จะนิยมใช้การเขียนโครงการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ดังนั้นบุคลากรในหน่วยงานทุกคน ควรมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณได้
ความหมายของโครงการ
โครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกัน
องค์ประกอบของโครงการ
โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ
ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น “ การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น
1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่น “เงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ ”
1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น “กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ”
1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น “นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม”
1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น “งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง”
1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่
1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว
1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ในปีเดียว หรือโครงการที่ต้องต่อยอดขยายผลไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ก็ได้ เช่น “ปีที่ผ่านมาอบรมอาสมาสมัครป้องกันยาเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณนี้ขยายผลโดยใช้รูปแบบและวิธีการเดิมกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้น” หรือ “โครงการ 1อำเภอ 1โรงเรียน ในฝัน ที่มีการดำเนินงานเป็นช่วง ๆ เป็นต้น”
1.7 ระยะเวลาในการดำเนินงาน อาจเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนี้
1.7.1 ปีงบประมาณ นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น จนถึง 30 กันยายน ของปีถัดไป
1.7.2 ปีการศึกษา นับตั้งแต่ วันที่ 16 พฤษภาคม ของปีนั้น จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
2.ส่วนโครงการ
เป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย
2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก
2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง
2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สภาพปัญหา
2.1.4 ความต้องการในการพัฒนา
ควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ
2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น “ เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้”
2.3 เป้าหมาย ปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่น “จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คน” หรือ “คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดี” เป็นต้น
2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น “1. เสนอโครงการ 2.อนุมัติโครงการ 3. ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปรายงานผล” เพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
2.5 งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่
- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น
- ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
เช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น
- ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น
2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่น “ร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดี” เป็นต้น
- วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น
- เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น
2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่น “เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้”
ลักษณะของโครงการที่ดี
1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
2. กระชับ ไม่เยิ่นเย้อควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า
3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย
4. มีความเป็นไปได้
5. วัดและประเมินผลได้
6. มีองค์ประกอบครบถ้วน
7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
8. คุ้มค่า
9. แก้ไขปัญหาได้จริง
10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนด
จากการทำแผนปฏิบัติการของโดยทั่ว ๆ ไป มักพบจุดอ่อนหลาย ประการ เช่น
การกำหนดวัตถุประสงค์
มักพบว่ามีหลายข้อ จนตรวจสอบได้ยากว่ากิจกรรมใด หรือ ขั้นตอนใด จะบรรลุวัตถุประสงค์ใด
การกำหนดเป้าหมาย
มักพบว่าเป็นเป้าหมายที่วัดความสำเร็จไม่ได้ หรือวัดได้ยาก
ขั้นตอนการดำเนินงาน
มักเป็นแผนปฏิบัติการ เพื่อไปวางแผนปฏิบัติการอีกทอดหนึ่งกล่าวคือ แผนปฏิบัติการ จะนำเอากระบวนการ P-D-C-Aไปเขียนเป็น ขั้นตอนการปฏิบัติการ เช่น
1. ขออนุมัติโครงการ
2. วางแผนปฏิบัติการ
3. ปฏิบัติการตามแผน
4. สรุปรายงาน เป็นต้น
การกำหนดวันปฏิบัติการ
มักพบว่าเป็นการกำหนดเวลาอย่างกว้างๆ เช่น “ตลอดภาคเรียน” หรือ “ตลอดปี” จนไม่ชัดเจนว่าจะทำอะไร เมื่อไร
การกำหนดผู้รับผิดชอบ
ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ หมายเลข 1 เพราะระบุว่า “กลุ่มสาระ.......”หรือ “งาน.............”
หากจะสรุปสภาพโดยรวมของแผนปฏิบัติการของโรงเรียนโดยทั่วไป ก็คือ ยังหย่อนความเป็นระบบระเบียบ และความชัดเจน
แนวปฏิบัติในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
เพื่อให้แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เป็นแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้
1. เป็นแผนปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบกลยุทธ์ ที่มั่นใจแล้วว่าจะผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
2. เป็นแผนปฏิบัติการที่ไม่มีจุดอ่อนทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวข้างต้น
3. เป็นแผนปฏิบัติการที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วว่า จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหรือ นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอน
สำหรับการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา ควรมีนั้นคือ
ภารกิจพัฒนาโรงเรียน
1. ด้านบุคลากร
- ปรับกระบวนทัศน์บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- พัฒนาครูและผู้บริหารการศึกษา
2. ด้านพัฒนางานวิชาการ
- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม
- พัฒนาสื่อการเรียนรู้
3. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการ
5. ด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิทัศน์
สิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา
2.1 พัฒนาครู ให้เป็นผู้มีความรู้ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
2.2 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ การใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
2.3 พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning
2.4 พัฒนาโรงเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา และเป็นต้นแบบของโรงเรียนอื่นและชุมชน
2.5 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งของผู้ปกครองและชุมชน
สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 10 เรื่องการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาคืออะไร
แผนพัฒนาคุณภาพศึกษาเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โดยคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทที่จะกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินงานตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกันนั้น
2. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจัดทำขึ้นเพื่ออะไร
1) เพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและบรรลุตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
2) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม สนับสนุน ส่งเสริม การดำเนินงานจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงต่อความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
4) เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้แนวทางในการเรียนรู้และสามารถกำหนดบทบาทของตนเองได้ถูกต้อง
3. ประโยชน์ที่จะได้รับจากแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1) ชุมชนและผู้ปกครองมั่นใจว่าสถานศึกษามีแผนและดำเนินการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และให้ความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุนอย่างเต็มใจ
2) สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
3) สถานศึกษาจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
4) ผู้เรียนแสดงบทบาทในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจนมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม ตามที่หลักสูตรและสังคมต้องการ
4. สาระสำคัญในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
1) ภาพรวมของสถานศึกษา (School Profile) เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสังเขป เพื่อแสดงความเป็นมา สภาพปัจจุบันเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสังเขป และทิศทางในอนาคตของสถานศึกษา
1.1) ข้อมูลทั่วไปของชุมชน ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์การศึกษา การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ฯลฯ
1.2) ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
1.3) โครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา แผนภูมิการบริหาร พร้อมทั้งบทบาทหน้าที่
1.4) โครงการสร้างการจัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ และการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชน
1.5) มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะมุ่งมั่นสู่ความเป็นเสิศในการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชน ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
2.1) วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่กว้างๆ ครอบคลุมทุกภารกิจของสถานศึกษา มุ่งการคิดไปข้างหน้า แสดงถึงความคาดหวังในอนาคต ข้อความ วิสัยทัศน์ จะสื่อถึงอุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ และอนาคตที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาและชุมชน ข้อความวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา การเขียนวิสัยทัศน์ที่ดีให้คำนึงว่าจะสามารถสร้างความศรัทธาและจุดประกายความคิดให้แก่ผู้ปฏิบัติได้
2.2) ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์
2.3) เป้าหมายของสถานศึกษา (School Goals) เป็นข้อความที่ระบุผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาจะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ภารกิจที่กำหนดมีความเป็นไปได้และมีความชัดเจนยิ่งขึ้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของสถานศึกษา เช่น ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ การจัดองค์กร การพัฒนาวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน เป็นต้น
เป้าหมายที่กำหนดในระดับนี้ เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุภายในช่วงเวลาที่กำหนด ลักษณะการเขียนยังเป็นผลลัพธ์กว้างๆ
3) แผนปฏิบัติการ เป็นแผนที่กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระยะที่กำหนด แผนปฏิบัติการประกอบด้วย สังเขป รายละเอียดของกิจกรรม หรือขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา งบประมาณ และแหล่งงบประมาณ
รูปแบบการเขียนนิยมใช้ตารางซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยง ตั้งแต่เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน ที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา วิธีการประเมินผล ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ผู้รับผิดชอบ กรอบเวลา งบประมาณในแต่ละกิจกรรม
4) การระดมทรัพยากร ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงแหล่งสนับสนุนงบประมาณและสรุปงบประมาณในแผนพัฒนาคุณภาพ ซึ่งจะต้องบอกจำนวนงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละปี และแหล่งที่สถานศึกษาจะสมารถระดมทรัพยากรและสนับสนุนงบประมาณได้
5) การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย
การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และแหล่งวิทยาการภายนอก เพื่อสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งควรจะต้องเขียนไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย
ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนทราบ
2. สถานศึกษา ศึกษาทบทวน วิเคราะห์ความเป็นมา สภาพปัจจุบัน ปัญหา จัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา
3. สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา (รวมถึงผู้แทนจากชุมชน) ประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา และแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในช่วงเวลาที่กำหนด
4. สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรโดยผ่านการยอมรับร่วมกันจากคณะกรรมการสถานศึกษา (ซึ่งมีผู้แทนจากชุมชนร่วมด้วย)
5. ประกาศแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทั่วไป (ในชุมชน) ทราบ
แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มิได้กำหนดตายตัวว่ารอบระยะเวลาของแผนจะครอบคลุมกี่ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาหรือนโยบายของต้นสังกัดที่จะกำหนดกรอบระยะเวลาได้ตามความเหมาะสมและวิถีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือ 2-3 ปีก็ได้
สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 11 เรื่องการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
“การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ” โดยชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา จึงจำ เป็นที่จะต้องปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาไทย การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา การออกแบบและการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา หลักธรรมาภิบาล ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้บริหารการศึกษา และวิชาชีพผู้บริหาร เป็นต้นในการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้นิยามคำ ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา” ไว้ 2 นิยาม คือ ผู้บริหารการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ อีก
หลายอาชีพ แต่ที่กล่าวถึงกันมากคือ ผู้บริหาร
สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 12 เรื่องการประเมินคุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย
3.1 หลักการประเมินคุณภาพ
เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)
3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน3.2 แนวทางในการประเมินภายใน
1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ
2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย
3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน
4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
3.2 แนวทางในการประเมินภายใน
1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ
2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย
3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน
4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
3.3 วัตถุประสงค์การประเมินคุณภาพ
วัตถุประสงค์ทั่วไป
1) เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ
2) เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
4) เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบัน
อุดมศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1) เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษากำหนด และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
2) เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น - จุดที่ควรพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
3) เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
4) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5) เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
3.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่ระดับมาตรฐาน
สากล
2) การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3) การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทำให้การผลิตบัณฑิตทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศ
4) นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน และสาธารณชนมีข้อมุลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องและเป็นระบบ
5) สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการศึกษา
ตอบ สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 9 เรื่อง การเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา จึงสรุปได้คือ
ปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการ หรือองค์กรเอกชนทั่วไป จะนิยมใช้การเขียนโครงการเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ดังนั้นบุคลากรในหน่วยงานทุกคน ควรมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถเขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณได้
ความหมายของโครงการ
โครงการ คือเค้าโครงของกิจกรรมที่กำหนดไว้เพื่อพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาตามความต้องการของหน่วยงาน มีลักษณะเป็นแนวทางการดำเนินงานที่บอกถึงความเป็นมา วิธีหรือขั้นตอนการดำเนินงาน ทรัพยากรที่จะใช้ รวมถึงผลสำเร็จที่ต้องการให้เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้มีอำนาจอนุมัติ ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมองเห็นภาพตลอดแนวและมีทิศทางในการดำเนินงานเดียวกัน
องค์ประกอบของโครงการ
โครงการมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 2 ส่วน คือ ส่วนนำและส่วนโครงการ ซึ่งจะนำเสนอ ดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำ
ส่วนนำโครงการ เป็นส่วนที่เขียนเพื่อให้เข้าใจว่า โครงการนี้ชื่ออะไร มีลักษณะอย่างไร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ และจะดำเนินการเมื่อไร โดยปกติจะอยู่ส่วนต้นของการเขียนโครงการ ประกอบด้วย
1.1 ชื่อโครงการ การเขียนชื่อโครงการควรบอกได้ว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร เรื่องอะไร กับใคร นิยมเขียนโดยขึ้นต้นด้วยคำนาม วิธีการ และตามด้วยเรื่องที่จะทำ เช่น “ การประชุมปฏิบัติการเขียนแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2552 ” เป็นต้น
1.2 แผนงบประมาณ เป็นการระบุที่มาของงบประมาณ ว่าโครงการนี้ ขอใช้งบประมาณในแผนใด เช่น “เงินงบประมาณ เงินอุดหนุน เงินนอกงบประมาณ ”
1.3 สนองกลยุทธ์ เพื่อให้ทราบว่า โครงการนี้ดำเนินงานตามกลยุทธ์ข้อใดของหน่วยงาน เช่น “กลยุทธ์ที่ 1 พัฒนาระบบบริหารจัดการของโรสงเรียนให้มีความคล่องตัว มีประสิทธิภาพ”
1.4 ผู้รับผิดชอบโครงการ ให้ระบุชื่อ สกุลของผู้รับผิดชอบโครงการ โดยจะระบุตำแหน่งด้วยหรือไม่ก็ได้ เช่น “นางแก้ว กัลยาณี หัวหน้ากลุ่มสาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม”
1.5 หน่วยงานที่รับผิดชอบ ควรระบุ ถึงระดับงาน เช่น “งานแผนงาน โรงเรียนเตรียมอุดม ศึกษาพัฒนาการดอนคลัง”
1.6 ลักษณะของโครงการ โดยทั่วไปจะมี 2 ประเภท ได้แก่
1.6.1 โครงการใหม่ คือโครงการที่จัดทำขึ้นใหม่ ในปีนั้น และสามารถดำเนินการได้เสร็จภายในปีงบประมาณเดียว
1.6.2.โครงการต่อเนื่อง คือโครงการที่มีลักษณะต่อเนื่องจากปีที่แล้วมา อาจเป็นโครงการที่ไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ในปีเดียว หรือโครงการที่ต้องต่อยอดขยายผลไปสู่กลุ่มเป้าหมายอื่นๆ ก็ได้ เช่น “ปีที่ผ่านมาอบรมอาสมาสมัครป้องกันยาเสพติด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีงบประมาณนี้ขยายผลโดยใช้รูปแบบและวิธีการเดิมกับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นต้น” หรือ “โครงการ 1อำเภอ 1โรงเรียน ในฝัน ที่มีการดำเนินงานเป็นช่วง ๆ เป็นต้น”
1.7 ระยะเวลาในการดำเนินงาน อาจเป็นระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ดังนี้
1.7.1 ปีงบประมาณ นับตั้งแต่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น จนถึง 30 กันยายน ของปีถัดไป
1.7.2 ปีการศึกษา นับตั้งแต่ วันที่ 16 พฤษภาคม ของปีนั้น จนถึงวันที่ 31 มีนาคม ของปีถัดไป
2.ส่วนโครงการ
เป็นส่วนที่กล่าวถึง เนื้อหาของการจัดทำโครงการ ประกอบด้วย
2.1 หลักการและเหตุผล ควรบอกถึงความเป็นมา เหตุผลความจำเป็นที่จะต้องจัดทำโครงการนี้ ซึ่งอาจมาจาก
2.1.1 นโยบายของรัฐ นโยบายของหน่วยเหนือ หรือนโยบายของหน่วยงานเอง
2.1.2 ระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 สภาพปัญหา
2.1.4 ความต้องการในการพัฒนา
ควรเขียนให้กระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ประมาณ 15-25 บรรทัด และสามารถทำให้ผู้อ่านเข้าใจและเห็นความสำคัญของการจัดทำโครงการได้ นิยมเขียนโดยภาพกว้างก่อน เช่น นโยบาย หรือปัญหา แล้วจึงลงมา ถึงตัวโครงการ
2.2 วัตถุประสงค์ เป็นหัวข้อที่สำคัญที่สุดของโครงการ ผู้อนุมัติโครงการจะพิจารณาความเหมาะสมของหัวข้อนี้เป็นพิเศษ ต้องเขียนให้ชัดเจนไม่คลุมเครือ มีความเป็นไปได้ วัดได้ เช่น “ เพื่อให้คณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการดอนคลัง สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศ สำหรับการเรียนการสอนได้”
2.3 เป้าหมาย ปัจจุบันนิยมเขียนโดยระบุปริมาณหรือคุณภาพที่ต้องการขั้นต่ำ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของ จำนวน ร้อยละ หรือระดับคุณภาพ เช่น “จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการใช้เครือข่ายสารสนเทศเพื่อการศึกษา ให้กับคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวง จำนวน 20 คน” หรือ “คณะครูโรงเรียน บ้านเปียงหลวง อย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถใช้ระบบเครือข่ายในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนได้ในระดับดี” เป็นต้น
2.4 กิจกรรม / ระยะเวลา มีรูปแบบการเขียนหลายแบบ อยู่ที่ว่าผู้เขียนโครงการจะเลือกใช้แบบใด เช่น ตาราง แบ่งเป็นข้อ แต่จะต้องแสดงกิจกรรม ขั้นตอน ระยะเวลา การทำงานตามลำดับ ให้เห็นว่าจะทำกิจกรรมอะไรบ้าง เมื่อไร ผู้รับผิดชอบในแต่ละรายกิจกรรมคือใครไว้อย่างชัดเจน เพราะการเพิ่ม ลด งบประมาณจะพิจารณาเป็นรายกิจกรรม ดังนั้นจึงไม่ควรเขียนขั้นตอนหรือกิจกรรมที่กว้างเกินไป เช่น “1. เสนอโครงการ 2.อนุมัติโครงการ 3. ดำเนินการตามโครงการ 4.สรุปรายงานผล” เพราะการเขียนเช่นนี้จะไม่สามารถพิจารณาได้ว่าโครงการมีกิจกรรมอะไรบ้างเหมาะสมหรือไม่เพียงใด
2.5 งบประมาณ ต้องบอกรายละเอียดของการใช้งบประมาณแต่ละรายการให้ชัดเจนถูกต้อง เช่น ค่าห้องประชุม กี่วัน วันละเท่าไร ค่าอาหารว่าง หรืออาหารกลางวัน กี่คน กี่วัน คนละเท่าไร ค่าเอกสารกี่เล่ม เล่มละเท่าไร รวมแล้วทั้งหมดเป็นงบประมาณที่จะขอใช้เท่าใด และต้องแยกรายการงบประมาณให้ถูกต้องตามหมวดค่าใช้จ่ายด้วย ได้แก่
- ค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าเบี้ยประชุมกรรมการ ค่าอาหารทำการนอกเวลา เป็นต้น
- ค่าใช้สอย เช่น ค่าจ้างเหมาบริการ เช่น อาหารว่าง อาหารกลางวัน ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
เช่น เบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ค่าที่พัก เป็นต้น
- ค่าวัสดุ เช่น วัสดุที่ใช้ในการฝึกอบรม และใช้ในการประชุม เช่น กระดาษ กรรไกร กาว แฟ้มเอกสาร เป็นต้น
2.6 การประเมินผล เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ทราบว่าโครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด องค์ประกอบของการประเมินผล มีดังนี้
- ตัวชี้วัดความสำเร็จ เป็นตัวตอบคำถามว่าจะวัดความสำเร็จของโครงการจากอะไร เช่น จำนวน ร้อยละ หรือเวลา เช่น “ร้อยละของคณะครูโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการที่สามารถใช้เครือข่ายสารสนเทศได้ในระดับดี” เป็นต้น
- วิธีการ ใช้วิธีการใดในการประเมินผลโครงการ เช่น การสำรวจความคิดเห็น การสังเกต การทดสอบ เป็นต้น
- เครื่องมือ เครื่องมือที่ใช้ควรสอดคล้องกับวิธีการ เช่น แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสำรวจความพึงพอใจ แบบสังเกต แบบทดสอบ เป็นต้น
2.7 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ต้องเขียนให้เห็นว่าจากการทำโครงการนี้จะมีผลประโยชน์ใดเกิดขึ้นบ้าง อาจเป็นผลในเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ หรือผลลัพธ์ก็ได้ เช่น “เมื่อคณะครูโรงเรียนบ้านเปียงหลวงใช้เครือข่ายสารสนเทศในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนแล้วจะสามารถยกระดับคุณภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้นได้”
ลักษณะของโครงการที่ดี
1. ต้องสอดคล้องและสนองต่อแผนกลยุทธ์ของหน่วยงาน
2. กระชับ ไม่เยิ่นเย้อควรอยู่ระหว่าง 3-7 หน้า
3. ใช้ภาษาที่เป็นทางการและเข้าใจได้ง่าย
4. มีความเป็นไปได้
5. วัดและประเมินผลได้
6. มีองค์ประกอบครบถ้วน
7. ใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
8. คุ้มค่า
9. แก้ไขปัญหาได้จริง
10. สำเร็จตามเวลาที่กำหนด
จากการทำแผนปฏิบัติการของโดยทั่ว ๆ ไป มักพบจุดอ่อนหลาย ประการ เช่น
การกำหนดวัตถุประสงค์
มักพบว่ามีหลายข้อ จนตรวจสอบได้ยากว่ากิจกรรมใด หรือ ขั้นตอนใด จะบรรลุวัตถุประสงค์ใด
การกำหนดเป้าหมาย
มักพบว่าเป็นเป้าหมายที่วัดความสำเร็จไม่ได้ หรือวัดได้ยาก
ขั้นตอนการดำเนินงาน
มักเป็นแผนปฏิบัติการ เพื่อไปวางแผนปฏิบัติการอีกทอดหนึ่งกล่าวคือ แผนปฏิบัติการ จะนำเอากระบวนการ P-D-C-Aไปเขียนเป็น ขั้นตอนการปฏิบัติการ เช่น
1. ขออนุมัติโครงการ
2. วางแผนปฏิบัติการ
3. ปฏิบัติการตามแผน
4. สรุปรายงาน เป็นต้น
การกำหนดวันปฏิบัติการ
มักพบว่าเป็นการกำหนดเวลาอย่างกว้างๆ เช่น “ตลอดภาคเรียน” หรือ “ตลอดปี” จนไม่ชัดเจนว่าจะทำอะไร เมื่อไร
การกำหนดผู้รับผิดชอบ
ไม่รู้ว่าใครเป็นผู้รับผิดชอบ หมายเลข 1 เพราะระบุว่า “กลุ่มสาระ.......”หรือ “งาน.............”
หากจะสรุปสภาพโดยรวมของแผนปฏิบัติการของโรงเรียนโดยทั่วไป ก็คือ ยังหย่อนความเป็นระบบระเบียบ และความชัดเจน
แนวปฏิบัติในการพัฒนาแผนปฏิบัติการของโรงเรียน
เพื่อให้แผนปฏิบัติการของโรงเรียน เป็นแผนปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพซึ่งมีตัวชี้วัดคุณภาพ ดังนี้
1. เป็นแผนปฏิบัติการที่อยู่ในกรอบกลยุทธ์ ที่มั่นใจแล้วว่าจะผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของโรงเรียน
2. เป็นแผนปฏิบัติการที่ไม่มีจุดอ่อนทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวข้างต้น
3. เป็นแผนปฏิบัติการที่มีการพิจารณาอย่างรอบคอบ แล้วว่า จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพ ตามมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนหรือ นำไปสู่การแก้ปัญหา พัฒนาการเรียนการสอน
สำหรับการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา ควรมีนั้นคือ
ภารกิจพัฒนาโรงเรียน
1. ด้านบุคลากร
- ปรับกระบวนทัศน์บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- พัฒนาครูและผู้บริหารการศึกษา
2. ด้านพัฒนางานวิชาการ
- พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- การจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม
- พัฒนาสื่อการเรียนรู้
3. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4. ด้านโครงสร้างและการบริหารจัดการ
5. ด้านการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภูมิทัศน์
สิ่งที่โรงเรียนต้องการพัฒนา
2.1 พัฒนาครู ให้เป็นผู้มีความรู้ และสามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ที่หลากหลาย มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning และส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง ผู้บริหาร ครู นักเรียน ผู้ปกครอง สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข
2.2 พัฒนาระบบการจัดการข้อมูล สารสนเทศ การใช้ข้อมูลต่างๆ ที่เอื้อต่อการทำงานของบุคลากร และการบริหารจัดการโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (SBM)
2.3 พัฒนาผู้เรียน ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียนอันจะก่อให้เกิดการสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสื่อสาร ( ICT ) , E-Learning
2.4 พัฒนาโรงเรียน ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป็นที่ยอมรับ ศรัทธา และเป็นต้นแบบของโรงเรียนอื่นและชุมชน
2.5 สร้างเครือข่ายการเรียนรู้ ที่เข้มแข็งของผู้ปกครองและชุมชน
สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 10 เรื่องการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาคืออะไร
แผนพัฒนาคุณภาพศึกษาเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับชุมชน โดยคณะกรรมการสถานศึกษา เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทที่จะกำหนดเป้าหมายและแนวทางในการพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาในช่วงระยะเวลาที่กำหนด โดยจัดทำไว้เป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะดำเนินงานตามข้อตกลงที่กำหนดร่วมกันนั้น
2. แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจัดทำขึ้นเพื่ออะไร
1) เพื่อวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนและบรรลุตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
2) เพื่อให้ชุมชนมีส่วนร่วม สนับสนุน ส่งเสริม การดำเนินงานจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
3) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ตรงต่อความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน
4) เพื่อให้ผู้เรียนได้รู้แนวทางในการเรียนรู้และสามารถกำหนดบทบาทของตนเองได้ถูกต้อง
3. ประโยชน์ที่จะได้รับจากแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1) ชุมชนและผู้ปกครองมั่นใจว่าสถานศึกษามีแผนและดำเนินการจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ และให้ความร่วมมือ ส่งเสริม สนับสนุนอย่างเต็มใจ
2) สถานศึกษามีการดำเนินงานตามแผนอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนด
3) สถานศึกษาจัดหลักสูตรและการเรียนการสอนให้กับผู้เรียนได้สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน
4) ผู้เรียนแสดงบทบาทในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองจนมีความรู้ความสามารถ มีคุณธรรม ตามที่หลักสูตรและสังคมต้องการ
4. สาระสำคัญในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
1) ภาพรวมของสถานศึกษา (School Profile) เป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสังเขป เพื่อแสดงความเป็นมา สภาพปัจจุบันเป็นการนำเสนอข้อมูลโดยสังเขป และทิศทางในอนาคตของสถานศึกษา
1.1) ข้อมูลทั่วไปของชุมชน ได้แก่ สภาพทางภูมิศาสตร์การศึกษา การประกอบอาชีพ เศรษฐกิจ การปกครอง ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี ค่านิยม ฯลฯ
1.2) ประวัติความเป็นมาของสถานศึกษา
1.3) โครงสร้างการบริหารของสถานศึกษา แผนภูมิการบริหาร พร้อมทั้งบทบาทหน้าที่
1.4) โครงการสร้างการจัดการศึกษา ได้แก่ หลักสูตรกิจกรรมที่ใช้ในการจัดการศึกษา กลุ่มเป้าหมายที่ให้บริการ และการมีส่วนร่วมการบริหารจัดการของชุมชน
1.5) มาตรฐานการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
2) ทิศทางการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ที่จะมุ่งมั่นสู่ความเป็นเสิศในการจัดการศึกษาให้แก่ชุมชน ซึ่งประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
2.1) วิสัยทัศน์ (Vision) เป็นเจตนารมณ์หรือความตั้งใจที่กว้างๆ ครอบคลุมทุกภารกิจของสถานศึกษา มุ่งการคิดไปข้างหน้า แสดงถึงความคาดหวังในอนาคต ข้อความ วิสัยทัศน์ จะสื่อถึงอุดมการณ์ หลักการ ความเชื่อ และอนาคตที่พึงประสงค์ของสถานศึกษาและชุมชน ข้อความวิสัยทัศน์จะต้องมีความชัดเจน เป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา การเขียนวิสัยทัศน์ที่ดีให้คำนึงว่าจะสามารถสร้างความศรัทธาและจุดประกายความคิดให้แก่ผู้ปฏิบัติได้
2.2) ภารกิจหรือพันธกิจ (Mission) เป็นข้อความที่แสดงเจตนารมณ์และวิธีการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุถึงวิสัยทัศน์
2.3) เป้าหมายของสถานศึกษา (School Goals) เป็นข้อความที่ระบุผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาจะดำเนินการให้บรรลุผลสำเร็จ ในช่วงระยะเวลาของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
การกำหนดเป้าหมายเพื่อให้ภารกิจที่กำหนดมีความเป็นไปได้และมีความชัดเจนยิ่งขึ้น สถานศึกษาจะต้องกำหนดเป้าหมายที่ครอบคลุมด้านต่างๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการของสถานศึกษา เช่น ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ด้านหลักสูตร และการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ การจัดองค์กร การพัฒนาวิชาชีพ และการมีส่วนร่วมจัดการศึกษาของชุมชน เป็นต้น
เป้าหมายที่กำหนดในระดับนี้ เป็นผลลัพธ์ปลายทางที่สถานศึกษาคาดหวังจะบรรลุภายในช่วงเวลาที่กำหนด ลักษณะการเขียนยังเป็นผลลัพธ์กว้างๆ
3) แผนปฏิบัติการ เป็นแผนที่กำหนดกิจกรรมที่จะดำเนินการในแต่ละปี เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระยะที่กำหนด แผนปฏิบัติการประกอบด้วย สังเขป รายละเอียดของกิจกรรม หรือขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนด ผู้รับผิดชอบแต่ละกิจกรรมหรือขั้นตอนการปฏิบัติ กรอบเวลา งบประมาณ และแหล่งงบประมาณ
รูปแบบการเขียนนิยมใช้ตารางซึ่งจะช่วยให้เห็นความเชื่อมโยง ตั้งแต่เป้าหมาย ยุทธศาสตร์ มาตรฐาน ที่เป็นจุดเน้นของการพัฒนา วิธีการประเมินผล ตัวบ่งชี้ความสำเร็จ ผู้รับผิดชอบ กรอบเวลา งบประมาณในแต่ละกิจกรรม
4) การระดมทรัพยากร ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจะต้องแสดงให้เห็นถึงแหล่งสนับสนุนงบประมาณและสรุปงบประมาณในแผนพัฒนาคุณภาพ ซึ่งจะต้องบอกจำนวนงบประมาณที่จะต้องใช้ในแต่ละปี และแหล่งที่สถานศึกษาจะสมารถระดมทรัพยากรและสนับสนุนงบประมาณได้
5) การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย
การประสานความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย และแหล่งวิทยาการภายนอก เพื่อสนับสนุนทางวิชาการ เพื่อการดำเนินงานพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ซึ่งควรจะต้องเขียนไว้ในแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วย
ขั้นตอนการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
1. สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้กับบุคลากรในสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครอง และชุมชนทราบ
2. สถานศึกษา ศึกษาทบทวน วิเคราะห์ความเป็นมา สภาพปัจจุบัน ปัญหา จัดเตรียมข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษา
3. สถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษา (รวมถึงผู้แทนจากชุมชน) ประชุมวางแผนร่วมกันเพื่อกำหนดเป้าหมายของสถานศึกษา และแผนพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาในช่วงเวลาที่กำหนด
4. สถานศึกษาจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นลายลักษณ์อักษรโดยผ่านการยอมรับร่วมกันจากคณะกรรมการสถานศึกษา (ซึ่งมีผู้แทนจากชุมชนร่วมด้วย)
5. ประกาศแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้บุคลากรในสถานศึกษาและบุคลากรทั่วไป (ในชุมชน) ทราบ
แผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา มิได้กำหนดตายตัวว่ารอบระยะเวลาของแผนจะครอบคลุมกี่ปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานศึกษาหรือนโยบายของต้นสังกัดที่จะกำหนดกรอบระยะเวลาได้ตามความเหมาะสมและวิถีการปฏิบัติของสถานศึกษาแต่ละแห่ง ซึ่งอาจจัดทำเป็นแผน 1 ปี หรือ 2-3 ปีก็ได้
สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 11 เรื่องการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
“การบริหารเพื่อพัฒนาคุณภาพ” โดยชี้ให้เห็นว่าผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของการปฏิรูปการศึกษา จึงจำ เป็นที่จะต้องปรับปรุงการผลิตและพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในการปฏิรูปการศึกษา โดยจะต้องสร้างความเข้าใจแก่ผู้บริหารสถานศึกษาในเรื่องต่างๆ เช่น ระบบการศึกษาไทย การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา การออกแบบและการปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา หลักธรรมาภิบาล ความรู้และทักษะพื้นฐานของผู้บริหารการศึกษา และวิชาชีพผู้บริหาร เป็นต้นในการปฏิรูปการศึกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติฯได้นิยามคำ ว่า “ผู้บริหารสถานศึกษา” ไว้ 2 นิยาม คือ ผู้บริหารการศึกษา และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่นๆ อีก
หลายอาชีพ แต่ที่กล่าวถึงกันมากคือ ผู้บริหาร
สรุปรายงานจากกลุ่มที่ 12 เรื่องการประเมินคุณภาพการศึกษา
การประเมินคุณภาพการศึกษา เป็นกระบวนการต่อเนื่องจากการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา แต่จะเน้นการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย/คณะ/วิทยาลัย กับตัวบ่งชี้คุณภาพในทุกองค์ประกอบของคุณภาพว่า การดำเนินงานเป็นไปตามเกณฑ์และมาตรฐานการศึกษาที่กำหนดมากน้อยเพียรไร โดยจัดเป็นระดับของการบรรลุเป้าหมาย
3.1 หลักการประเมินคุณภาพ
เนื่องจากการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของอุดมศึกษาเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง ทั้งเพื่อความอยู่รอด การพัฒนา และความสามารถในการแข่งขันทั้งในระยะสั้นและระยะยาวของประเทศ เครื่องมือสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาดังกล่าวข้างต้นอย่างต่อเนื่องก็คือ การประเมินคุณภาพการศึกษา ซึ่งต้องครอบคลุมทั้งการประเมินคุณภาพภายนอกสถาบันอุดมศึกษา และการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา
การประเมินคุณภาพภายนอก มีหลักการสำคัญ 5 ประการ ดังต่อไปนี้
1) เป็นการประเมินเพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ไม่ได้มุ่งเน้นเรื่องการ ตัดสิน การจับผิด หรือการให้คุณ - ให้โทษ
2) ยึดหลักความเที่ยงตรง เป็นธรรม โปร่งใส มีหลักฐานข้อมูลตามสภาพความเป็นจริง ( Evidence - base ) และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (Accountability)
3) มุ่งเน้นในเรื่องการส่งเสริมและประสานงานในลักษณะกัลยาณมิตรมากกว่าการกำกับควบคุม
4) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการประเมินคุณภาพและการพัฒนาการจัดการศึกษาจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
5) มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างเสรีภาพทางการศึกษากับจุดมุ่งหมายและหลักการศึกษาของชาติตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2545 โดยให้เอกภาพเชิงนโยบาย แต่ยังคงมีความหลากหลายในทางปฏิบัติที่สถาบันสามารถกำหนดเป้าหมายเฉพาะและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เต็มตามศักยภาพของสถาบันและผู้เรียน3.2 แนวทางในการประเมินภายใน
1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ
2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย
3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน
4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
3.2 แนวทางในการประเมินภายใน
1) การประเมินภายในเริ่มด้วยการศึกษาตนเองของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัยที่รับผิดชอบ
2) ประเมินตามภารกิจหลักทั้ง 4 ประการ ของมหาวิทยาลัย / คณะ / วิทยาลัย
3) ผู้บริหาร / คณาจารย์ และนักศึกษา มีส่วนร่วมในการประเมิน
4) ประเมินเพื่อปรับปรุงคุณภาพการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น
3.3 วัตถุประสงค์การประเมินคุณภาพ
วัตถุประสงค์ทั่วไป
1) เพื่อให้ทราบระดับคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาในการดำเนินภารกิจด้านต่างๆ
2) เพื่อกระตุ้นเตือนให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาการศึกษา และประสิทธิภาพการบริหารจัดการอย่างต่อเนื่อง
3) เพื่อให้ทราบความก้าวหน้าของการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
4) เพื่อรายงานสถานภาพและพัฒนาการในด้านคุณภาพและมาตรฐานของสถาบัน
อุดมศึกษาต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วัตถุประสงค์เฉพาะ
1) เพื่อตรวจสอบยืนยันสภาพจริงในการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาและประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ตามกรอบแนวทางและวิธีการที่สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษากำหนด และสอดคล้องกับระบบการประกันคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
2) เพื่อให้ได้ข้อมูลซึ่งช่วยสะท้อนให้เห็นจุดเด่น - จุดที่ควรพัฒนาของสถาบันอุดมศึกษา เงื่อนไขของความสำเร็จ และสาเหตุของปัญหา
3) เพื่อช่วยเสนอแนะแนวทางปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพการศึกษาแก่สถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานต้นสังกัด
4) เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีการพัฒนาคุณภาพและประกันคุณภาพภายในอย่างต่อเนื่อง
5) เพื่อรายงานผลการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
3.4 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1) เกิดการพัฒนาคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง เข้าสู่ระดับมาตรฐาน
สากล
2) การใช้ทรัพยากรในการบริหารจัดการของสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
3) การบริหารจัดการสถาบันอุดมศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล อันจะทำให้การผลิตบัณฑิตทุกระดับ การสร้างผลงานวิจัย และการให้บริการวิชาการ เกิดประโยชน์สูงสุด และตรงกับความต้องการของสังคมและประเทศ
4) นักศึกษา ผู้ปกครอง ผู้จ้างงาน และสาธารณชนมีข้อมุลสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้องและเป็นระบบ
5) สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานบริหารการศึกษา และรัฐบาลมีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นระบบในการกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารจัดการศึกษา
ใบงานครั้งที่ 6 วัฒนธรรมในองค์กร
ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ จากความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่าหมายถึง “พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน” ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
ตอบ จากความหมายของคำว่า “วัฒนธรรม” ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายว่าหมายถึง “พฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิต สร้างขึ้นด้วยกัน เรียนรู้จากกันและกัน และร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน” ดังนั้นวัฒนธรรมองค์กรก็คือ พฤติกรรมที่สร้างขึ้นจากคนในองค์กรโดยมีการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และยึดถือปฏิบัติกันมาจนเป็นธรรมเนียมปฏิบัติในองค์กรนั้น ๆ
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ตอบ เพราะการใช้ชีวิตในเเต่ละภาคย่อมมีความเเตกต่างกันไป แต่สำหรับสามจังหวัดภาคใต้เราควรมีลักษณะที่จะมีศึกษา ดังนี้
1.ศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของบุคคลศาสนาที่ประชาชนในที่นั้นนับถือ
2.ศึกษาลักษณะอาชีพส่วนใหญ่ในพื้นที่
3.ศึกษาประเพณี วัฒนธรรมที่มีในพื้นที่
4.ศึกษาภาษาและวัฒนธรรมความเป็นอยู่
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การที่จะทำให้เกิดวัฒนธรรมของการทำงานเป็นทีมได้นั้นเราต้องมีหลักดังต่อไปนี้
1.รับฟังมุมมองที่แตกต่าง ไม่อคติ มีใจเป็นกลาง มีเหตุผล ไม่คิดว่า ความคิดของตนเองถูกแล้ว ดีแล้วเสมอ ไม่คิดว่า ความคิดของคนอื่นผิด หรือ ผิดทั้งหมดเสมอ ไม่พูดจาหรือแสดงออกที่เป็นการดูถูกผู้อื่น
2.ไม่ตีกรอบการทำงานของตัวเอง แต่จะพิจารณาถึงเป้าหมาย / หลักการ ถ้าเป็นการเพิ่ม Performance ให้กับตัวเองและส่วนรวม จะลองเอาไปคิดและทำดู
3.ทุกคนกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นยอมรับและหาวิธีการที่ผสมผสานให้เกิดประโยชน์สูงสุด (ไม่เอาแพ้ – ไม่เอาชนะกัน)
4.ไม่หนีปัญหา แต่จะจัดการป้องกันและแก้ไขปัญหา
5.ไม่คิดว่า เคยทำอย่างไรมา ก็จะต้องทำอย่างนั้นตลอดไป โดยไม่ดูข้อมูลหรือ ปัจจัยที่เปลี่ยนไป (ไม่ใช่อะลุ่มอล่วยด้วยความรู้สึกเห็นใจ)
หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเรียนรู้นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ในองค์การมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งแนวคิดและหลักการของการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์การที่สำคัญมีดังนี้
1.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ ( learning ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ทฤษฎีการเรียนการสอนของผู้ใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ ทฤษฎีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อ4ประการ คือ
• มโนทัศน์ของผู้เรียน ( Concept of the Learner )
• บทบาทของประสบการณ์ของผู้เรียน ( Roles of Learners Experience )
• ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ( Readiness to Learn )
• การนำไปสู่การเรียนรู้ ( Orientation to Learning )
3.ประเภทของการเรียนรู้ประเภทของการเรียนรู้สามารถจำแนกประเภทของการเรียนรู้ออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
หากทีมใดกลุ่มใดมีหลักการข้างต้นแล้วจะทำให้เกิดวัฒนธรรมที่ดีและทำให้การทำงานเป็นทีมนั้นประสบความสำเร็จ
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ การเรียนรู้นับว่าเป็นกิจกรรมที่สำคัญของการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งการเรียนรู้ในองค์การมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในระบบการศึกษาที่เป็นทางการ เป็นการเรียนรู้ของผู้ใหญ่และเรียนรู้จากสภาพแวดล้อมการทำงาน ซึ่งแนวคิดและหลักการของการเรียนรู้เกี่ยวกับองค์การที่สำคัญมีดังนี้
1.แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ การเรียนรู้ ( learning ) หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องอันเนื่องมาจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ทั้งอย่างที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ
2.หลักการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ทฤษฎีการเรียนการสอนของผู้ใหญ่ ตั้งอยู่บนพื้นฐานความเชื่อที่ว่าผู้ใหญ่แต่ละคนเป็นผู้ซึ่งมีวุฒิภาวะที่สมบูรณ์ ทฤษฎีดังกล่าวตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งความเชื่อ4ประการ คือ
• มโนทัศน์ของผู้เรียน ( Concept of the Learner )
• บทบาทของประสบการณ์ของผู้เรียน ( Roles of Learners Experience )
• ความพร้อมที่จะเรียนรู้ ( Readiness to Learn )
• การนำไปสู่การเรียนรู้ ( Orientation to Learning )
3.ประเภทของการเรียนรู้ประเภทของการเรียนรู้สามารถจำแนกประเภทของการเรียนรู้ออกได้เป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. การเรียนรู้โดยการจำ เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามจะรวบรวมหรือเก็บเนื้อหาสาระจากสิ่งที่ต้องการจะเรียนให้ได้มากที่สุด
2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดนที่ผู้เรียนพยายามลอกเลียนแบบ หรือกระทำตามต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์แก่ตน
3.การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ขั้นตอนของการเรียนรู้ประเภทนี้จะเดขึ้น 3 ขั้นดังนี้
• ผู้เรียนมองเห็นหรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนรวมของสถานการณ์ทั้งหมดก่อน
• ผู้เรียนแยกแยะส่วนรวมเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ
• ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้งเรียกว่า เกิดการหยั่งรู้ ( insight )
4.การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น
5.การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติ การเรียนรู้โดยการสร้างความคิดรวบยอดนั้นเกิดจากการทีผู้เรียนมองเห็นลักษณะรวมของสิ่งนั้นก่อน ต่อจากนั้นจึงพิจารณาลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นต่อไป
2. การเรียนรู้โดยการเลียนแบบ เป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นโดนที่ผู้เรียนพยายามลอกเลียนแบบ หรือกระทำตามต้นแบบที่ตนเห็นว่าดีหรือเป็นประโยชน์แก่ตน
3.การเรียนรู้โดยการหยั่งรู้ ขั้นตอนของการเรียนรู้ประเภทนี้จะเดขึ้น 3 ขั้นดังนี้
• ผู้เรียนมองเห็นหรือมีปฏิกิริยาต่อส่วนรวมของสถานการณ์ทั้งหมดก่อน
• ผู้เรียนแยกแยะส่วนรวมเพื่อพิจารณาความสัมพันธ์ของส่วนย่อยนั้นๆ
• ผู้เรียนเกิดความเข้าใจสถานการณ์นั้นอย่างแจ่มแจ้งเรียกว่า เกิดการหยั่งรู้ ( insight )
4.การเรียนรู้แบบลองผิดลองถูก เป็นการเรียนรู้ที่ผู้เรียนพยายามใช้ทางเลือกหลายๆ ทางเพื่อแก้ปัญหาหรือสถานการณ์วิกฤติที่เกิดขึ้น
5.การเรียนรู้โดยการสร้างมโนคติ การเรียนรู้โดยการสร้างความคิดรวบยอดนั้นเกิดจากการทีผู้เรียนมองเห็นลักษณะรวมของสิ่งนั้นก่อน ต่อจากนั้นจึงพิจารณาลักษณะเฉพาะของสิ่งนั้นต่อไป
วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 5
ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่กัน มีความเสมอภาคกัน ทัดเทียมกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา คอยสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน การแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน คนเราเมื่อเกิดความเห็นใจกันแล้ว ก็พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น เราก็อยู่กันด้วยดี ต้องมีความจริงใจต่อกัน ตัวอย่างเช่นห้องเพื่อนข้างๆ น้ำไม่ไหลเราก็ชวนเพื่อนมาอาบน้ำห้องเราหรือถ้าเพื่อนในหอพักมีปัญหากัน เราก็พยายามพูดจูงใจให้เพื่อนดีกันหรืออาจจัดกิจกรรมในหอพักเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกในหอพัก
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ กลุ่มคือ การที่ทุกคนได้ระดมความคิดร่วมกัน แต่หากหัวหน้าทีมคนใดที่ระดมแล้วไม่ทำตาม สู้ประกาศเป็นคำสั่งให้ทำซะเลย ดีกว่ามาเสียเวลาระดมสมอง... คนเราอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันนั่นคือ การอยู่ร่วมกันแบบต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง โดยที่มีความสอดคล้องกัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาติดขัดในการทำงาน ดังนั้นจึงเรียกการทำงานแบบนี้ว่าการทำงานที่เป็น"ทีม" คำว่าทำงานเป็นกลุ่ม มิได้หมายถึงการทำงานที่ไม่มีความขัดแย้งกันเลย อาจจะมีบ้าง แต่ก็มีการปรึกษาแก้ปัญหาต่อกัน โดยที่เมื่อสรุปตัดสินปัญหานั้นหมดไปแล้วก็จะจบลงบนโต๊ะตรงนั้น จะไม่นำมาต่อกันข้างนอกอีก เพราะถือว่าทุกคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกันหมด ถึงแม้ว่าตัวเราเองจะไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยแล้วก็แสดงว่า ทุกคนได้มองภาพตรงนั้นเป็นมุมเดียวกันหมดแล้ว
ตัวอย่างเช่น ในการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการตลาดนั้น ผู้จัดการฝ่ายการตลาดได้ขอความเห็นจากที่ประชุม โดยให้ลูกน้องแต่ละคนได้เสนอแผนการทำการตลาด ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอแนวคิดต่างๆ กันออกไป ถือได้ว่ามีความคิดที่สร้างสรรค์กันออกไป แต่เมื่อสุดท้ายในที่ประชุมสรุปแนวทางได้แล้ว โดยอาจจะมีการนำความคิดของแต่ละคนมาผสมรวมกัน จะทำให้สามารถอุดช่องว่างต่างๆได้ แล้วในที่ประชุมได้โหวตให้ความเห็นชอบเหมือนกันแล้ว ถือได้ว่าสิ้นสุดบนโต๊ะนั้นแล้ว แต่ในบางครั้ง อาจจะบ่อยครั้งก็ได้ ที่เคยพบเห็นการทำงานของหลายๆแห่ง ที่ผู้มีอำนาจไม่ยอมฟังความคิดเห็นจากลูกน้อง โดยที่อาจจะทำเป็นเปิดโอกาสได้หลายคนได้เสนอแนวทางออกมาแต่ในใจนั้นตัวเองได้สรุปไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ที่ทำออกมานั้นเพื่อสร้างภาพของตัวเองให้ทุกคนได้รู้ว่า "ฉันก็เป็นประชาธิปไตยนะ ทีได้ให้โอกาสพวกท่านได้แสดงความคิดเห็น" แต่หารู้ไม่ว่า ผลสรุปก็คือต้องทำตามความคิดฉัน นั่นก็ไม่ต่างจากคำว่า "เผด็จการ" นั่นเอง ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว จะมีการประชุมเพื่อระดมความคิดที่จะทำงานให้เป็นทีมไปทำไมล่ะ ก็ในเมื่อผลสรุปนั้นได้ออกมาตั้งแต่ยังไม่เกิดการประชุมเลย ในลักษณะเช่นนี้ ให้ทำเป็นจดหมายหรือไม่เป็นคำสั่งออกมาเลยจะดีกว่า ว่าให้ทำตามแนวทางดังต่อไปนี้ แล้วก็ไล่รายการลงมาเป็นข้อๆ เพื่อให้ทุกคนนำไปเป็นคู่มือเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป หากคิดว่าแนวทางที่ตัวเองคิดว่าต้องดำเนินไปตามนั้นแล้ว สู้ออกเป็นคำสั่งออกมาเลยจะดีกว่า อย่ามานั่งประชุมเพื่อระดมสมองให้เสียเวลาอันมีค่าที่จะต้องไปทำอย่างอื่นต่อไปเลย เพราะนั่นอาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน เกิดความคิดไม่ยอมรับตัวเราได้ ถ้าเป็นแบบนี้แล้วจะทำให้การทำงานร่วมกันนั้นไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ หรือไม่อาจจะเป็นจุดอ่อนให้คู่แข่งได้ใช้โอกาสความขัดแย้งภายในของเรามาโจมตีเราได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดีเลย จะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจได้ บางองค์กรถึงขนาดยุบไปเลยก็ได้เช่นกัน จะเห็นได้จากหลายๆองค์กรที่มีการเกิด และการล้มหายตายจากไปจากระบบธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวนั้นแล้ว จะพบว่า มีผู้บริหารระดับสูงน้อยคนนัก ที่จะไว้วางใจให้ทีมงานได้ดำเนินงานไปพร้อมๆกันมีการประสานงานกันที่ชัดเจน ถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบริษัทใดๆ ที่ยอมปล่อยให้มีนักบริหารมืออาชีพได้มีโอกาสแสดงฝีมือแล้วผู้บริหารงานของบริษัทนั้นๆ จะกลายเป็นเครื่องหมายทางการค้าหรือ เป็นภาพอีกภาพหนึ่งของบริษัทนั้นๆ ไปเลยทีเดียว
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ หากเราทะเลาะกันเราสามารถนำหลักการมนุษย์ไปใช้ คือ
1. ยุทธศาสตร์ในการบริหารความขัดแย้ง
- ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
- วิเคราะห์ประเด็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
- สร้างตัวกันชน หรือตัวเชื่อมหรือคนกลางระหว่างบุคคล หรือกลุ่ม
- สร้างและพัฒนาทีมงาน
- ปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานให้เหมาะสม
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
- พัฒนาผู้บริหารเพื่อแสดงบทบาทมี่เหมาะสม
2. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
- ยอมรับปัญหา เลือกวิธีแก้ไข วางแผนปฏิบัติ การปฏิบัติตามแผน และการติดตามประเมินผล
- ปล่อยให้กาลเวลาผ่านไป ปัญหาจะคลี่คลายไปเองตามธรรมชาติ
- ใช้อำนาจบังคับ
- การประนีประนอน
- สร้างทีมงานให้เกิดความรู้สึกในการร่วมมือร่วมใจกัน
- การเจรจา
- พุทธวิธี ตามแนวอริยสัจ 4
- พัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ตอบ คนเรามีความคิด มีเหตุ มีผล และ มีการพัฒนาตนเองขึ้นมา ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์อื่นๆ คนเราสร้างสิ่งที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย การกิน อยู่ หลับ นอน หรือแม้นแต่ทำกิจวัตรประจำวัน เราก็มีเครื่องมือต่างๆ มากมาย ที่คนเราสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ตนเองสดวกสบายขึ้นความสำเร็จของคนเรานั้น ก็เหมือนกับการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนตัวเพื่อทำให้ตัวเองได้รับผลจากความสำเร็จนั้นๆ การจะสร้างเครื่องมือสักอย่าง เราต้องเชื่ออย่างมั่นใจ และ มีเหตุผล สนับสนุนว่า การทำเช่นนั้น จะส่งผลให้มีเครื่อมือนั้นมาใช้งานจริงๆ เราต้องรู้องค์ประกอบของเครื่องมือฉันใด เราก็ต้องรู้ว่าเราจะประสบความสำเร็จต้องมีอะไรเป็นองค์ประกอบด้วยฉันนั้น เราจึงต้องคิดย้อนกลับจากอนาคตที่เราต้องการจะเป็น หรือ ต้องการประสบความสำเร็จ แล้วแค่นั้นยังไม่เพียงพอ ยังต้องมีแนวความคิดที่ดี และ สร้างสรร หลายคนคิดว่า ตัวเองไม่มีความสามารถไปถึงจุดนั้น ก็จะทำให้เขาไม่มีความสามารถเช่นนั้นด้วย แต่ถ้ามีมุมมองว่า คุณจะทำอย่างไรให้ตัวคุณเองประสบความสำเร็จ หรือ จะสร้างนิสัยอย่างไรให้เกิดขึ้นกับตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็น ทัศนคติเชิงบวก ที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นภายในความคิดของเราให้ได้ การมีทัศนคติเชิงบวก จะทำให้เรามีแรงผลักดันทั้งภายใน และ ภายนอก ในการทำสิ่งใดๆให้ประสบความสำเร็จ คนเราถ้ามีทัศนคติเชิงบวก มากเท่าไหร่ ก็เปลี่ยนแปลงตัวเองได้รวดเร็วเท่านั้นทัศนคติเชิงบวก จะนำมาซึ่ง การนับถือตัวเอง ทำให้เรามองโลกในแง่ดี มีความคิดที่จะมุ่งสู่ทิศทางที่ต้องการ เมื่อสิ่งที่ดีๆเหล่านี้เกิดขึ้นในตัว ก็จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก แต่การสร้างให้เรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการที่จะสร้างให้มีทัศนคติเชิงบวกมีหลากหลายวิธี แต่ผมใช้วิธีเหล่านี้...1. เปลี่ยนความคิดเชิงตำหนิ กลายมาเป็นยอมรับความเป็นจริงของตนเองส่วนใหญ่เวลาที่คนเราไม่พอใจอะไร จะตำหนิคนอื่น หรือ สิ่งรอบข้างก่อนเสมอ ที่ทำให้เขาไม่พอใจ หรือ ขัดใจ หรือ ไม่ได้อย่างที่หวัง ชีวิตผมส่วนใหญ่มักจะหาเหตุ และ ผลของสิ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจก่อน แต่บางครั้ง เหตุและผล ก็ไม่สามารถจะยับยั้งความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ แต่อย่างน้อย เวลาเรารู้ว่า เหตุคืออะไรที่ทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำให้เรามีความคิดเชิงบวกได้มากขึ้น ถึงแม้นว่า เราจะมีปฏิกริยาบางอย่างที่ตรงข้ามหรือ กลายเป็นแบบคนอื่นๆทั่วไปที่กระทำกับเรื่องเหล่านั้น ก็ไม่แปลก แต่อย่างน้อย เราต้องเข้าใจเหตุผลจริงๆ และพยายามยอมรับมันให้ได้ เปลี่ยนการตำหนิตัวเอง หรือตำหนิสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นเหตุเป็นผล และ ยอมรับความเป็นจริงเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้2. หากจะต่อว่าลูกน้อง ให้หาข้อดีของเขาสัก 5 ข้อ ก่อนจะต่อว่าเขา 1 ข้อมีอยู่ช่วงหนึ่งของชีวิตการเป็นผู้บริหารระดับต้น ผมจะไม่ต่อว่าลูกน้องผมเลยหากผมไม่สามารถหาข้อดีมาบอกเขาได้ 5 ข้อ นั่นหมายถึง ผมตั้งข้อจำกัดให้กับตัวเอง ให้คิดถึงแต่สิ่งที่ดีงามของลูกน้องก่อน เพื่อไม่ให้การต่อว่าเขานั้น ทำไปด้วยความใจร้อน หรือ เอาแต่ความคิดของตนเองเป็นหลัก ผลที่ได้คือ ผมเห็นจุดแข็งของพวกเขา และ ดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมา ทำให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น โดยต่อว่าเขาน้อยมาก และ ผมก็จะเข้าใจพวกเขามากขึ้น เห็นใจพวกเขามากขึ้น3. มองให้เห็นว่า สิ่งที่เรากำลังทำนั้น ส่งผลดีกับใครบ้างอยู่เสมอๆถ้าเราคิดว่า สิ่งที่เราทำนั้นส่งผลดีกับคนอื่น โดยคนอื่นอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ จะทำให้เรามีแรงที่จะทำให้กับคนอื่นได้มากขึ้น การกระทำที่หวังจะทำเพื่อประโยชน์ให้กับคนอื่นนั้น จะเป็นการกล่อมเกลาจิตใจของคนเราให้มองเห็นคุณค่าของตนเอง และ เห็นคุณค่าของคนอื่นๆ ไม่ว่าเราจะรู้จัก หรือไม่รู้จัก ก็ตาม ยิ่งถ้าเราทำเพื่อไม่หวังผลด้วยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมความคิดให้กลายเป็นคนชอบช่วยเหลือ และ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ก็ต้องศึกษาคนให้รู้เท่าทันคนด้วย จะทำให้เราเข้าใจเขาได้มากยิ่งขึ้นด้วย4. สร้างวินัยให้กับตัวเองให้เป็นคนที่ทำงานให้เสร็จทันเวลากำหนด หรือ เสร็จก่อนกำหนด ทำให้เรามีความรู้สึกว่า งานเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เรารับผิดชอบการรับผิดชอบตนเอง สร้างวินัยให้กับตนเองทำให้เราเห็นคุณค่าของเวลา เห็นคุณค่าของตนเอง และ เห็นความสามารถของตนเองว่าอยู่ระดับใด อีกทั้งยังทำให้เราเข้าใจตนเองได้มากขึ้น ขอความช่วยเหลือ หรือ คำแนะนำจากคนอื่นได้ทันท่วงทีสิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่ผมหล่อหลอมแนวความคิดของผมเสมอๆ ถึงแม้นว่ามันอาจจะไม่ดี แต่แค่นี้ผมก็คิดว่า มันทำให้ผมมีมุมมองทางบวกได้มากขึ้นครับ และหวังว่ามันอาจจะช่วยเพื่อนๆได้แนวความคิดที่สามารถเอาไปพัฒนาต่อได้...
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่กัน มีความเสมอภาคกัน ทัดเทียมกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา คอยสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน การแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน คนเราเมื่อเกิดความเห็นใจกันแล้ว ก็พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น เราก็อยู่กันด้วยดี ต้องมีความจริงใจต่อกัน ตัวอย่างเช่นห้องเพื่อนข้างๆ น้ำไม่ไหลเราก็ชวนเพื่อนมาอาบน้ำห้องเราหรือถ้าเพื่อนในหอพักมีปัญหากัน เราก็พยายามพูดจูงใจให้เพื่อนดีกันหรืออาจจัดกิจกรรมในหอพักเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกในหอพัก
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ กลุ่มคือ การที่ทุกคนได้ระดมความคิดร่วมกัน แต่หากหัวหน้าทีมคนใดที่ระดมแล้วไม่ทำตาม สู้ประกาศเป็นคำสั่งให้ทำซะเลย ดีกว่ามาเสียเวลาระดมสมอง... คนเราอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันนั่นคือ การอยู่ร่วมกันแบบต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง โดยที่มีความสอดคล้องกัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาติดขัดในการทำงาน ดังนั้นจึงเรียกการทำงานแบบนี้ว่าการทำงานที่เป็น"ทีม" คำว่าทำงานเป็นกลุ่ม มิได้หมายถึงการทำงานที่ไม่มีความขัดแย้งกันเลย อาจจะมีบ้าง แต่ก็มีการปรึกษาแก้ปัญหาต่อกัน โดยที่เมื่อสรุปตัดสินปัญหานั้นหมดไปแล้วก็จะจบลงบนโต๊ะตรงนั้น จะไม่นำมาต่อกันข้างนอกอีก เพราะถือว่าทุกคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกันหมด ถึงแม้ว่าตัวเราเองจะไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยแล้วก็แสดงว่า ทุกคนได้มองภาพตรงนั้นเป็นมุมเดียวกันหมดแล้ว
ตัวอย่างเช่น ในการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการตลาดนั้น ผู้จัดการฝ่ายการตลาดได้ขอความเห็นจากที่ประชุม โดยให้ลูกน้องแต่ละคนได้เสนอแผนการทำการตลาด ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอแนวคิดต่างๆ กันออกไป ถือได้ว่ามีความคิดที่สร้างสรรค์กันออกไป แต่เมื่อสุดท้ายในที่ประชุมสรุปแนวทางได้แล้ว โดยอาจจะมีการนำความคิดของแต่ละคนมาผสมรวมกัน จะทำให้สามารถอุดช่องว่างต่างๆได้ แล้วในที่ประชุมได้โหวตให้ความเห็นชอบเหมือนกันแล้ว ถือได้ว่าสิ้นสุดบนโต๊ะนั้นแล้ว แต่ในบางครั้ง อาจจะบ่อยครั้งก็ได้ ที่เคยพบเห็นการทำงานของหลายๆแห่ง ที่ผู้มีอำนาจไม่ยอมฟังความคิดเห็นจากลูกน้อง โดยที่อาจจะทำเป็นเปิดโอกาสได้หลายคนได้เสนอแนวทางออกมาแต่ในใจนั้นตัวเองได้สรุปไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ที่ทำออกมานั้นเพื่อสร้างภาพของตัวเองให้ทุกคนได้รู้ว่า "ฉันก็เป็นประชาธิปไตยนะ ทีได้ให้โอกาสพวกท่านได้แสดงความคิดเห็น" แต่หารู้ไม่ว่า ผลสรุปก็คือต้องทำตามความคิดฉัน นั่นก็ไม่ต่างจากคำว่า "เผด็จการ" นั่นเอง ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว จะมีการประชุมเพื่อระดมความคิดที่จะทำงานให้เป็นทีมไปทำไมล่ะ ก็ในเมื่อผลสรุปนั้นได้ออกมาตั้งแต่ยังไม่เกิดการประชุมเลย ในลักษณะเช่นนี้ ให้ทำเป็นจดหมายหรือไม่เป็นคำสั่งออกมาเลยจะดีกว่า ว่าให้ทำตามแนวทางดังต่อไปนี้ แล้วก็ไล่รายการลงมาเป็นข้อๆ เพื่อให้ทุกคนนำไปเป็นคู่มือเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป หากคิดว่าแนวทางที่ตัวเองคิดว่าต้องดำเนินไปตามนั้นแล้ว สู้ออกเป็นคำสั่งออกมาเลยจะดีกว่า อย่ามานั่งประชุมเพื่อระดมสมองให้เสียเวลาอันมีค่าที่จะต้องไปทำอย่างอื่นต่อไปเลย เพราะนั่นอาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน เกิดความคิดไม่ยอมรับตัวเราได้ ถ้าเป็นแบบนี้แล้วจะทำให้การทำงานร่วมกันนั้นไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ หรือไม่อาจจะเป็นจุดอ่อนให้คู่แข่งได้ใช้โอกาสความขัดแย้งภายในของเรามาโจมตีเราได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดีเลย จะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจได้ บางองค์กรถึงขนาดยุบไปเลยก็ได้เช่นกัน จะเห็นได้จากหลายๆองค์กรที่มีการเกิด และการล้มหายตายจากไปจากระบบธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวนั้นแล้ว จะพบว่า มีผู้บริหารระดับสูงน้อยคนนัก ที่จะไว้วางใจให้ทีมงานได้ดำเนินงานไปพร้อมๆกันมีการประสานงานกันที่ชัดเจน ถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบริษัทใดๆ ที่ยอมปล่อยให้มีนักบริหารมืออาชีพได้มีโอกาสแสดงฝีมือแล้วผู้บริหารงานของบริษัทนั้นๆ จะกลายเป็นเครื่องหมายทางการค้าหรือ เป็นภาพอีกภาพหนึ่งของบริษัทนั้นๆ ไปเลยทีเดียว
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ หากเราทะเลาะกันเราสามารถนำหลักการมนุษย์ไปใช้ คือ
1. ยุทธศาสตร์ในการบริหารความขัดแย้ง
- ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
- วิเคราะห์ประเด็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
- สร้างตัวกันชน หรือตัวเชื่อมหรือคนกลางระหว่างบุคคล หรือกลุ่ม
- สร้างและพัฒนาทีมงาน
- ปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานให้เหมาะสม
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
- พัฒนาผู้บริหารเพื่อแสดงบทบาทมี่เหมาะสม
2. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
- ยอมรับปัญหา เลือกวิธีแก้ไข วางแผนปฏิบัติ การปฏิบัติตามแผน และการติดตามประเมินผล
- ปล่อยให้กาลเวลาผ่านไป ปัญหาจะคลี่คลายไปเองตามธรรมชาติ
- ใช้อำนาจบังคับ
- การประนีประนอน
- สร้างทีมงานให้เกิดความรู้สึกในการร่วมมือร่วมใจกัน
- การเจรจา
- พุทธวิธี ตามแนวอริยสัจ 4
- พัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ตอบ คนเรามีความคิด มีเหตุ มีผล และ มีการพัฒนาตนเองขึ้นมา ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์อื่นๆ คนเราสร้างสิ่งที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย การกิน อยู่ หลับ นอน หรือแม้นแต่ทำกิจวัตรประจำวัน เราก็มีเครื่องมือต่างๆ มากมาย ที่คนเราสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ตนเองสดวกสบายขึ้นความสำเร็จของคนเรานั้น ก็เหมือนกับการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนตัวเพื่อทำให้ตัวเองได้รับผลจากความสำเร็จนั้นๆ การจะสร้างเครื่องมือสักอย่าง เราต้องเชื่ออย่างมั่นใจ และ มีเหตุผล สนับสนุนว่า การทำเช่นนั้น จะส่งผลให้มีเครื่อมือนั้นมาใช้งานจริงๆ เราต้องรู้องค์ประกอบของเครื่องมือฉันใด เราก็ต้องรู้ว่าเราจะประสบความสำเร็จต้องมีอะไรเป็นองค์ประกอบด้วยฉันนั้น เราจึงต้องคิดย้อนกลับจากอนาคตที่เราต้องการจะเป็น หรือ ต้องการประสบความสำเร็จ แล้วแค่นั้นยังไม่เพียงพอ ยังต้องมีแนวความคิดที่ดี และ สร้างสรร หลายคนคิดว่า ตัวเองไม่มีความสามารถไปถึงจุดนั้น ก็จะทำให้เขาไม่มีความสามารถเช่นนั้นด้วย แต่ถ้ามีมุมมองว่า คุณจะทำอย่างไรให้ตัวคุณเองประสบความสำเร็จ หรือ จะสร้างนิสัยอย่างไรให้เกิดขึ้นกับตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็น ทัศนคติเชิงบวก ที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นภายในความคิดของเราให้ได้ การมีทัศนคติเชิงบวก จะทำให้เรามีแรงผลักดันทั้งภายใน และ ภายนอก ในการทำสิ่งใดๆให้ประสบความสำเร็จ คนเราถ้ามีทัศนคติเชิงบวก มากเท่าไหร่ ก็เปลี่ยนแปลงตัวเองได้รวดเร็วเท่านั้นทัศนคติเชิงบวก จะนำมาซึ่ง การนับถือตัวเอง ทำให้เรามองโลกในแง่ดี มีความคิดที่จะมุ่งสู่ทิศทางที่ต้องการ เมื่อสิ่งที่ดีๆเหล่านี้เกิดขึ้นในตัว ก็จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก แต่การสร้างให้เรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการที่จะสร้างให้มีทัศนคติเชิงบวกมีหลากหลายวิธี แต่ผมใช้วิธีเหล่านี้...1. เปลี่ยนความคิดเชิงตำหนิ กลายมาเป็นยอมรับความเป็นจริงของตนเองส่วนใหญ่เวลาที่คนเราไม่พอใจอะไร จะตำหนิคนอื่น หรือ สิ่งรอบข้างก่อนเสมอ ที่ทำให้เขาไม่พอใจ หรือ ขัดใจ หรือ ไม่ได้อย่างที่หวัง ชีวิตผมส่วนใหญ่มักจะหาเหตุ และ ผลของสิ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจก่อน แต่บางครั้ง เหตุและผล ก็ไม่สามารถจะยับยั้งความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ แต่อย่างน้อย เวลาเรารู้ว่า เหตุคืออะไรที่ทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำให้เรามีความคิดเชิงบวกได้มากขึ้น ถึงแม้นว่า เราจะมีปฏิกริยาบางอย่างที่ตรงข้ามหรือ กลายเป็นแบบคนอื่นๆทั่วไปที่กระทำกับเรื่องเหล่านั้น ก็ไม่แปลก แต่อย่างน้อย เราต้องเข้าใจเหตุผลจริงๆ และพยายามยอมรับมันให้ได้ เปลี่ยนการตำหนิตัวเอง หรือตำหนิสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นเหตุเป็นผล และ ยอมรับความเป็นจริงเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้2. หากจะต่อว่าลูกน้อง ให้หาข้อดีของเขาสัก 5 ข้อ ก่อนจะต่อว่าเขา 1 ข้อมีอยู่ช่วงหนึ่งของชีวิตการเป็นผู้บริหารระดับต้น ผมจะไม่ต่อว่าลูกน้องผมเลยหากผมไม่สามารถหาข้อดีมาบอกเขาได้ 5 ข้อ นั่นหมายถึง ผมตั้งข้อจำกัดให้กับตัวเอง ให้คิดถึงแต่สิ่งที่ดีงามของลูกน้องก่อน เพื่อไม่ให้การต่อว่าเขานั้น ทำไปด้วยความใจร้อน หรือ เอาแต่ความคิดของตนเองเป็นหลัก ผลที่ได้คือ ผมเห็นจุดแข็งของพวกเขา และ ดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมา ทำให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น โดยต่อว่าเขาน้อยมาก และ ผมก็จะเข้าใจพวกเขามากขึ้น เห็นใจพวกเขามากขึ้น3. มองให้เห็นว่า สิ่งที่เรากำลังทำนั้น ส่งผลดีกับใครบ้างอยู่เสมอๆถ้าเราคิดว่า สิ่งที่เราทำนั้นส่งผลดีกับคนอื่น โดยคนอื่นอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ จะทำให้เรามีแรงที่จะทำให้กับคนอื่นได้มากขึ้น การกระทำที่หวังจะทำเพื่อประโยชน์ให้กับคนอื่นนั้น จะเป็นการกล่อมเกลาจิตใจของคนเราให้มองเห็นคุณค่าของตนเอง และ เห็นคุณค่าของคนอื่นๆ ไม่ว่าเราจะรู้จัก หรือไม่รู้จัก ก็ตาม ยิ่งถ้าเราทำเพื่อไม่หวังผลด้วยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมความคิดให้กลายเป็นคนชอบช่วยเหลือ และ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ก็ต้องศึกษาคนให้รู้เท่าทันคนด้วย จะทำให้เราเข้าใจเขาได้มากยิ่งขึ้นด้วย4. สร้างวินัยให้กับตัวเองให้เป็นคนที่ทำงานให้เสร็จทันเวลากำหนด หรือ เสร็จก่อนกำหนด ทำให้เรามีความรู้สึกว่า งานเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เรารับผิดชอบการรับผิดชอบตนเอง สร้างวินัยให้กับตนเองทำให้เราเห็นคุณค่าของเวลา เห็นคุณค่าของตนเอง และ เห็นความสามารถของตนเองว่าอยู่ระดับใด อีกทั้งยังทำให้เราเข้าใจตนเองได้มากขึ้น ขอความช่วยเหลือ หรือ คำแนะนำจากคนอื่นได้ทันท่วงทีสิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่ผมหล่อหลอมแนวความคิดของผมเสมอๆ ถึงแม้นว่ามันอาจจะไม่ดี แต่แค่นี้ผมก็คิดว่า มันทำให้ผมมีมุมมองทางบวกได้มากขึ้นครับ และหวังว่ามันอาจจะช่วยเพื่อนๆได้แนวความคิดที่สามารถเอาไปพัฒนาต่อได้...
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553
ใบงานครั้งที่ 4
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
ตอบ หลักการทำงานเป็นกลุ่ม หรือ Team ควรมีหลัก 11 ข้อดังนี้
1.)บรรยากาศขององค์กรเป็นแบบอรูปนัย ตามสบาย ไม่มีแนวที่จะตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่คนทำงานมีความเกี่ยวข้องและสนใจไม่มีท่าทีของความเบื่อหน่ายท้อแท้เกิดขึ้นในการทำงาน
2.) มีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผย เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของแต่ละคน แต่ท้ายที่สุดงานส่วนรวมต้องเป็นของกลุ่ม ถ้าหากการอภิปรายออกนอกลู่นอกทางคนใดคนหนึ่งในกลุ่มจะดึงกลับมา
3.) งานหรือวัตถุประสงค์ของกลุ่มเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจากทุกคนและได้รับการยอมรับจากบรรดาสมาชิก มีความอิสระเสรีในการอภิปรายปัญหาในประเด็นต่างๆจนในที่สุดอาจจะออกมาในด้านที่ทุกคนยอมรับและมีความผูกพันที่จะปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
4.) บรรดาสมาชิกในกลุ่มยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน อภิปรายปัญหาไม่เป็นการโจมตีกันเป็นการส่วนตัว แต่มีการรับฟังปัญหาต่างๆ ทุกคนไม่หลัวจะถูกหาว่าโง่ในการแสดงความคิดเห็นออกมา โดยเฉพาะความคิดริเริ่มและต้องสร้างสรรต่อกลุ่ม
5.) แม้จะมีการขัดแย้งกัน คนในกลุ่มก็ยังมีความรู้สึกที่จะยอมอยู่ร่วมงานกันได้ต่อไป แม้จะมีความขัดแย้งก็ไม่คิดหลบหนี หลีกเลี่ยง เพื่อปิดบังอำพรางการไม่ตกลงกัน ไม่มีการบีบบังคับกันและกัน ในกลุ่มได้มีการตรวจสอบเหตุผลกันอย่างระมัดระวัง ทนุถนอมรักษาความสามัครคีของกลุ่ม และกลุ่มพยายามที่แก้ปัญหาข้อขัดแย้งแทนที่จะหนีไปเสียให้พ้น
6.) มีการตัดสินใจโดยความเห็นร่วมกันส่วนใหญ่ซึ่งทุกคนเห็นด้วยว่าไปด้วยกันได้
7.) การวิจารณืเป็นไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่มีการมุ่งโจมตีกันเป็นการส่วนตัว ทั้งต่อหน้าและลับหลัง การวิจารณ์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานของกลุ่มให้สำเร็จ
8.) ทุกคนมีอิสระเสรีในการแสดงความรู้สึกและแนวคิดในการที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ทั้งปัญหาส่วนบุ๕คลและการทำงานของกลุ่ม ทุกคนเข้าใจความรู้สึกของกันและกันในประเด็นต่างๆที่ถกเถียงกัน
9.) เมื่อมีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน การมอบหมายการทำงานได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากบุคคลที่เกี่ยงข้อง
10.) ประธานของกลุ่มไม่ใช้อิทธิพลหรืออำนาจส่วนตัวเหนือสมาชิกของกลุ่ม หรือ กลุ่มก็ไม่ได้ใช้อิทธิพลเหนือประธานของกลุ่มเช่นกันแต่ภาวะผู้นำเปลี่ยนไปทุกขณะแล้วแต่สถานการณ์ แต่ละคนแสดงบทบาทเป็นส่วนหนึ่งที่มีประโยชน์ของกลุ่ม เขาจะแสดงเป็นผู้นำเมื่อถึงโอกาส ไม่มีการต่อสู้เพื่ออำนาจส่วนตัว ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ใครควบคุม แต่กลับอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำงานได้ผลดี
11.) กลุ่มมีอิสระภาพในการทำงานของเขาเอง จะมีการตรวจสอบผลงานของตนเองเป็นระยะๆว่า จะทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างไร อาจจะเป็นกระบวนการบุคคล กลุ่มหรือวิธีการก็ตาม ย่อมแล้วแต่งานและวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ตอบ 1.บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
2. ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
4. บทบาท(Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
5. วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
5.2 การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
5.3 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก 5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system)
3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ตอบ สามารถนำไปใช้ได้คือ การจัดสัมนาทางคณิตศาสตร์ได้ เราสามารถวางเเผนงานในการทำงานเป็นทีม การจัดนิทรรศการ และค่ายต่างๆได้
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
ตอบ หลักการทำงานเป็นกลุ่ม หรือ Team ควรมีหลัก 11 ข้อดังนี้
1.)บรรยากาศขององค์กรเป็นแบบอรูปนัย ตามสบาย ไม่มีแนวที่จะตึงเครียด เป็นบรรยากาศที่คนทำงานมีความเกี่ยวข้องและสนใจไม่มีท่าทีของความเบื่อหน่ายท้อแท้เกิดขึ้นในการทำงาน
2.) มีการอภิปรายกันอย่างเปิดเผย เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของแต่ละคน แต่ท้ายที่สุดงานส่วนรวมต้องเป็นของกลุ่ม ถ้าหากการอภิปรายออกนอกลู่นอกทางคนใดคนหนึ่งในกลุ่มจะดึงกลับมา
3.) งานหรือวัตถุประสงค์ของกลุ่มเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งจากทุกคนและได้รับการยอมรับจากบรรดาสมาชิก มีความอิสระเสรีในการอภิปรายปัญหาในประเด็นต่างๆจนในที่สุดอาจจะออกมาในด้านที่ทุกคนยอมรับและมีความผูกพันที่จะปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ
4.) บรรดาสมาชิกในกลุ่มยอมรับฟังเหตุผลของกันและกัน อภิปรายปัญหาไม่เป็นการโจมตีกันเป็นการส่วนตัว แต่มีการรับฟังปัญหาต่างๆ ทุกคนไม่หลัวจะถูกหาว่าโง่ในการแสดงความคิดเห็นออกมา โดยเฉพาะความคิดริเริ่มและต้องสร้างสรรต่อกลุ่ม
5.) แม้จะมีการขัดแย้งกัน คนในกลุ่มก็ยังมีความรู้สึกที่จะยอมอยู่ร่วมงานกันได้ต่อไป แม้จะมีความขัดแย้งก็ไม่คิดหลบหนี หลีกเลี่ยง เพื่อปิดบังอำพรางการไม่ตกลงกัน ไม่มีการบีบบังคับกันและกัน ในกลุ่มได้มีการตรวจสอบเหตุผลกันอย่างระมัดระวัง ทนุถนอมรักษาความสามัครคีของกลุ่ม และกลุ่มพยายามที่แก้ปัญหาข้อขัดแย้งแทนที่จะหนีไปเสียให้พ้น
6.) มีการตัดสินใจโดยความเห็นร่วมกันส่วนใหญ่ซึ่งทุกคนเห็นด้วยว่าไปด้วยกันได้
7.) การวิจารณืเป็นไปอย่างเปิดเผยตรงไปตรงมา ไม่มีการมุ่งโจมตีกันเป็นการส่วนตัว ทั้งต่อหน้าและลับหลัง การวิจารณ์เป็นไปอย่างสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานของกลุ่มให้สำเร็จ
8.) ทุกคนมีอิสระเสรีในการแสดงความรู้สึกและแนวคิดในการที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหา ทั้งปัญหาส่วนบุ๕คลและการทำงานของกลุ่ม ทุกคนเข้าใจความรู้สึกของกันและกันในประเด็นต่างๆที่ถกเถียงกัน
9.) เมื่อมีความจำเป็นในการปฏิบัติงาน การมอบหมายการทำงานได้รับการยอมรับเป็นอย่างดีจากบุคคลที่เกี่ยงข้อง
10.) ประธานของกลุ่มไม่ใช้อิทธิพลหรืออำนาจส่วนตัวเหนือสมาชิกของกลุ่ม หรือ กลุ่มก็ไม่ได้ใช้อิทธิพลเหนือประธานของกลุ่มเช่นกันแต่ภาวะผู้นำเปลี่ยนไปทุกขณะแล้วแต่สถานการณ์ แต่ละคนแสดงบทบาทเป็นส่วนหนึ่งที่มีประโยชน์ของกลุ่ม เขาจะแสดงเป็นผู้นำเมื่อถึงโอกาส ไม่มีการต่อสู้เพื่ออำนาจส่วนตัว ประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่า ใครควบคุม แต่กลับอยู่ที่ว่า ทำอย่างไรจึงจะทำงานได้ผลดี
11.) กลุ่มมีอิสระภาพในการทำงานของเขาเอง จะมีการตรวจสอบผลงานของตนเองเป็นระยะๆว่า จะทำงานให้ดีขึ้นได้อย่างไร อาจจะเป็นกระบวนการบุคคล กลุ่มหรือวิธีการก็ตาม ย่อมแล้วแต่งานและวัตถุประสงค์ของกลุ่ม
2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
ตอบ 1.บรรยากาศของการทำงานมีความเป็นกันเอง อบอุ่น มีความกระตือรือร้น และสร้างสรรค์ ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างจริงจัง และจริงใจ ไม่มีร่องรอยที่แสดงให้เห็นถึงความเบื่อหน่าย
2. ความไว้วางใจกัน (Trust) เป็นหัวใจสำคัญของการทำงานเป็นทีม สมาชิกทุกคนในทีมควรไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ซื่อสัตย์ต่อกัน สื่อสารกันอย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน
3. มีการมอบหมายงานอย่างชัดเจน สมาชิกทีมงานเข้าใจวัตถุประสงค์ เป้าหมาย และยอมรับภารกิจหลักของทีมงาน
4. บทบาท(Role) สมาชิกแต่ละคนเข้าใจและปฏิบัติตามบทบาทของตน และเรียนรู้เข้าใจในบทบาทของผู้อื่นในทีม ทุกบทบาทมีความสำคัญ รวมทั้งบทบาทในการช่วยรักษาความเป็นทีมงานให้มั่นคง เช่น การประนีประนอม การอำนวยความสะดวก การให้กำลังใจ เป็นต้น
5. วิธีการทำงาน (Work Procedure) สิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา คือ
5.1 การสื่อความ (Communication) การทำงานเป็นทีมอาศัยบรรยากาศ การสื่อความที่ชัดเจนเหมาะสม ซึ่งจะทำให้ทุกคนกล้าที่จะเปิดใจ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน จนเกิดความเข้าใจ และนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพ
5.2 การตัดสินใจ (Decision Making) การทำงานเป็นทีมต้องใช้การตัดสินใจร่วมกัน เมื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกในทีมแสดงความคิดเห็น และร่วมตัดสินใจแล้ว สมาชิกย่อมเกิดความผูกพันที่จะทำในสิ่งที่ตนเองได้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น
5.3 ภาวะผู้นำ (Leadership) คือ บุคคลที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น การทำงานเป็นทีมควรส่งเสริมให้สมาชิกทุกคนได้มีโอกาสแสดงความเป็นผู้นำ (ไม่ใช่ผลัดกันเป็นหัวหน้า) เพื่อให้ทุกคนเกิดความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับ จะได้รู้สึกว่าการทำงานเป็นทีมนั้นมีความหมาย ปรารถนาที่จะทำอีก 5.4 การกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะเอื้อต่อการทำงานร่วมกันให้บรรลุเป้าหมาย ควรเปิดโอกาสให้สมาชิกได้มีส่วนร่วม ในการกำหนดกติกา หรือกฎเกณฑ์ที่จะนำมาใช้ร่วมกัน
6. การมีส่วนร่วมในการประเมินผลการทำงานของทีม ทีมงานควรมีการประเมินผลการทำงาน เป็นระยะ ในรูปแบบทั้งไม่เป็นทางการ และเป็นทางการ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการประเมินผลงาน ทำให้สมาชิกได้ทราบความก้าวหน้าของงาน ปัญหา อุปสรรคที่เกิดขึ้น รวมทั้งพัฒนากระบวนการทำงาน หรือการปรับปรุงแก้ไขร่วมกัน ซึ่งในที่สุดสมาชิกจะได้ทราบว่าผลงานบรรลุเป้าหมาย และมีคุณภาพมากน้อยเพียงใด
7. การพัฒนาทีมงานให้เข้มแข็ง
7.1 พัฒนาศักยภาพทีมงาน ด้วยการสร้างแรงจูงใจทางบวก สมาชิกมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการจัดกิจกรรมสร้างพลังทีมงาน เกิดความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้ประสบผลสำเร็จ
7.2 การให้รางวัล ปัจจุบันการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม ส่วนใหญ่จะพิจารณาผลการทำงานเป็นรายบุคคล ดังนั้นระบบรางวัลที่เอื้อต่อการทำงานเป็นทีม คือ การที่ทุกคนได้รางวัลอย่างยุติธรรมทุกคน คือ ควรสนับสนุนการให้รางวัลแก่การทำงานเป็นทีมในลักษณะที่ว่างอยู่บนพื้นฐานการให้รางวัลกับกลุ่ม (Group base reward system)
3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร
ตอบ สามารถนำไปใช้ได้คือ การจัดสัมนาทางคณิตศาสตร์ได้ เราสามารถวางเเผนงานในการทำงานเป็นทีม การจัดนิทรรศการ และค่ายต่างๆได้
ใบงานครั้งที่ 3
มนุษยสัมพันธ์ในองค์กร
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความหมายองค์และองค์การ
ตอบ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2525 ได้แยกคำว่า องค์การ (Organization) และองค์กร (Organ) ดังนี้
องค์กร(Organ) หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน
หรือขึ้นต่อกันและกัน
องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
ความหมายในภาษาอังกฤษและคำนิยาม หน่วยงานต่างๆจึงควรใช้คำว่า องค์การ มากกว่าคำว่า องค์กร แต่เนื่องจากมีการใช้กันจนชินก็เลยใช้คำว่า องค์กร กันมาก ในทางปฏิบัติ หากเป็นการพูดถึงหน่วยงานทั่วๆไปไม่เฉพาะเจาะจงควรใช้คำว่า องค์การ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การคุณภาพ องค์การบริหารตนเอง องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น แต่ถ้าพูดเฉพาะเจาะจงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งก็ใช้คำว่า องค์กร ได้
ตอบ จากพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน ปี 2525 ได้แยกคำว่า องค์การ (Organization) และองค์กร (Organ) ดังนี้
องค์กร(Organ) หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยใหญ่ที่ทำหน้าที่สัมพันธ์กัน
หรือขึ้นต่อกันและกัน
องค์การ(Organization) หมายถึง การเป็นศูนย์กลางของกิจกรรมที่ร่วมประกอบกันขึ้นเป็นหน่วย
ความหมายในภาษาอังกฤษและคำนิยาม หน่วยงานต่างๆจึงควรใช้คำว่า องค์การ มากกว่าคำว่า องค์กร แต่เนื่องจากมีการใช้กันจนชินก็เลยใช้คำว่า องค์กร กันมาก ในทางปฏิบัติ หากเป็นการพูดถึงหน่วยงานทั่วๆไปไม่เฉพาะเจาะจงควรใช้คำว่า องค์การ เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล องค์การคุณภาพ องค์การบริหารตนเอง องค์การแห่งการเรียนรู้ เป็นต้น แต่ถ้าพูดเฉพาะเจาะจงหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งก็ใช้คำว่า องค์กร ได้
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
ตอบ การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Channel Communication) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคม
ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
-ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical_Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น
-ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น
4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ TCP/IP มีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน สามประการคือ
1.เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน
2.ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางทีใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ
มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ ฐานะที่เป็นครูเราควรมีการสื่อสารให้มีความชัดเจน เเละผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ง่าย
ตอบ การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ องค์ประกอบของการสื่อสาร ประกอบด้วย
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนอง
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
ตอบ ช่องทางการติดต่อสื่อสาร (Channel Communication) เพื่อใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการผ่านทางโครงข่ายโทรคมนาคม
ช่องทางการสื่อสาร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของการสื่อสารข้อมูลซึ่งหมายถึง สื่อกลางการส่งผ่านสารสนเทศระหว่างอุปกรณ์ 2 ชนิด โดยการสื่อสารข้อมูลผ่านช่องทางการสื่อสารนี้ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลจะขึ้นอยู่กับปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ คือ ความกว้างของช่องสัญญาณและชนิดของข้อมูล ซึ่งคำว่า “ความกว้างของช่องสัญญาณ (Bandwidth)” อาจเปรียบได้กับความกว้างของถนนและ “ชนิดของข้อมูล” อาจเปรียบได้กับชนิดของรถยนต์ดังนั้นการที่ช่องทางการสื่อสารมีแบนด์วิดท์มาก ก็เท่ากับมีถนนหลายเลน รถยนต์สามารถวิ่งผ่านไปมาได้มากและรวดเร็ว แต่ในทางกลับกันหากมีแบนด์วิดท์น้อยก็เท่ากับถนนมีเลนน้อย รถยนต์วิ่งผ่านไปมาได้น้อยและช้า นอกจากนี้แล้วชนิดของข้อมูลก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อปริมาณ และความรวดเร็วในการสื่อสารกล่าวคือชนิดข้อมูลที่เป็นข้อความจะมีขนาดเล็กทำให้การส่งผ่านข้อมู่ลไปมาทำได้สะดวกรวดเร็วแม้จะมีแบนด์วิดท์น้อยก็ตามแต่ในทางกลับกัน หากช่องทางการสื่อสารนั้นมีแบนด์วิดท์กว้าง แต่ชนิดข้อมูลกลับเป็นไฟล์วิดีโอซึ่งขนาดใหญ่มากก็จะทำให้ส่งผ่านข้อมูลได้ช้า ช่องทางการติดต่อสื่อสารแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด
-ช่องทางการสื่อสารแบบมีสาย (Physical_Wire) เช่น สายทวิสเตดแพร์ (Twisted-pair Wire) สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) และเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber-optic Cable) เป็นต้น
-ช่องทางการสื่อสารแบบไร้สาย (Wireless) เช่น ไมโครเวฟ (Microwave) ดาวเทียม (Satellite) แสงอินฟราเรด (Infrared) คลื่นวิทยุ (Radio) และเซลลาร์ เป็นต้น
4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
ตอบ TCP/IP มีวัตถุประสงค์ของการสื่อสารตามมาตรฐาน สามประการคือ
1.เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างระบบที่มีความแตกต่างกัน
2.ความสามารถในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย เช่นในกรณีที่ผู้ส่งและผู้รับยังคงมีการติดต่อกันอยู่ แต่โหนดกลางทีใช้เป็นผู้ช่วยรับ-ส่งเกิดเสียหายใช้การไม่ได้ หรือสายสื่อสารบางช่วงถูกตัดขาด กฎการสื่อสารนี้จะต้องสามารถจัดหาทางเลือกอื่นเพื่อทำให้การสื่อสารดำเนินต่อไปได้โดยอัตโนมัติ
มีความคล่องตัวต่อการสื่อสารข้อมูลได้หลายชนิดทั้งแบบที่ไม่มีความเร่งด่วน เช่น การจัดส่งแฟ้มข้อมูล และแบบที่ต้องการรับประกันความเร่งด่วนของข้อมูล เช่น การสื่อสารแบบ real-time และทั้งการสื่อสารแบบเสียง (Voice) และข้อมูล (data)
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ ฐานะที่เป็นครูเราควรมีการสื่อสารให้มีความชัดเจน เเละผู้ฟังสามารถเข้าใจได้ง่าย
ใบงานครั้งที่ 2
ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
ตอบ มีความเเตกต่างกัน กล่าวคือ
ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการเเต่งตั้งหรือได้รับการยินยอมจากสมาชิกในกลุ่มให้เป็นหัวหน้าหรือตำเเหน่งเเละหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในกลุ่มผู้นำ หมายถึง ผู้ที่สามารถชักจูงหรือโน้มน้าว หรือใช้อิทธิพลให้ผู้อื่น ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
ตอบ มีความเเตกต่างกัน กล่าวคือ
ผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการเเต่งตั้งหรือได้รับการยินยอมจากสมาชิกในกลุ่มให้เป็นหัวหน้าหรือตำเเหน่งเเละหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในกลุ่มผู้นำ หมายถึง ผู้ที่สามารถชักจูงหรือโน้มน้าว หรือใช้อิทธิพลให้ผู้อื่น ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กร
ผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
ตอบ ภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ (พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์, 2547: 68) ได้แก่
1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน บทบาทดังกล่าวจะช่วยให้ผู้นำสร้างแผนงานแม่แบบ (blueprint of action) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการก่อนจะลงมือปฏิบัติตามแผน นอกจากนั้น ไม่เพียงแต่ต้องรู้ถึงวิธีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายเท่า ผู้นำต้องมีความสามารถนำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการสร้างพันธกิจ วิสัยทัศน์ และสื่อสารอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากความสำเร็จในอนาคต อีกทั้งยังสามารถทำให้พนักงานมีแรงจูงใจและรู้สึกตื่นเต้นกับทิศทางใหม่นี้ด้วย
2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียว
3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการที่สมาชิกของกลุ่มหรือพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ โดยผู้นำต้องสร้างสภาวะที่จะกระตุ้นการสร้างเสริมและปลดปล่อยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ความสามารถ และศักยภาพที่มีอยู่ในบุคคลทุกคน
4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือ ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
ตอบ ผมคิดว่าการพัฒนาภาวะผู้นำจะต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะพัฒนาตัวเราเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เราสามารถพัฒนาภาวะผู้นำอาจที่เราสามารถทำได้เเบ่งเป็น ดังนี้
1. เรียนจากนาย Learn from bosses คือ ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้
2. เรียนจากผู้อื่น Learn from people คือ ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล”
3. เรียนจากงานที่ทำ Learn on the job คือ เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น
4. การฝึกอบรมและปฏิบัติการ . Training and workshop คือ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ
4.1 New Leader คือ ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ
4.2 Management Development คือ การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้
4.3 Leadership Enhancement คือ เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ
4.4 Leadership Vitality คือ ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ บุคคลที่มีภาวะผู้นำผมคิดว่าจะต้องมีวิธีคิดคือ
4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
ตอบ บุคคลที่มีภาวะผู้นำผมคิดว่าจะต้องมีวิธีคิดคือ
1. ความรู้ (Knowledge)
การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้
เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น
2. ความริเริ่ม (Initiative)
ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วย
ตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง
3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)
ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย
วาจา และใจ
ผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้
นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น
ในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย
4. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริต
ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
5 . มีความอดทน (Patience)
ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง
6. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness )
ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์
ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง
พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)
8. มีความภักดี (Loyalty)
การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล
ความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ
การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้
เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น
2. ความริเริ่ม (Initiative)
ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วย
ตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง
3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)
ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกาย
วาจา และใจ
ผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้
นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้น
ในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย
4. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริต
ต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก
5 . มีความอดทน (Patience)
ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง
6. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness )
ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์
ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้อง
พูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)
8. มีความภักดี (Loyalty)
การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น จำเป็นต้องมีความจงรักภักดีต่อหมู่คณะ ต่อส่วนรวมและต่อองค์การ ความภักดีนี้ จะช่วยให้หัวหน้าได้รับความไว้วางใจ และปกป้องภัยอันตรายในทุกทิศได้เป็นอย่างดี
9. มีความสงบเสงี่ยมไม่ถือตัว (Modesty)
ผู้นำที่ดีจะต้องๆไม่หยิ่งยโส ไม่จองหอง ไม่วางอำนาจ และไม่ภูมิใจในสิ่งที่ไร้เหตุผล
ความสงบเสงี่ยมนี้ ถ้ามีอยู่ในหัวหน้างานคนใดแล้ว ก็จะทำให้ลูกน้องมีความนับถือ และให้ความร่วมมือเสมอ
5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร
ตอบ ผมคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ จะต้องมีสมบัติดังนี้
1.ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย
2. ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา
3 .ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี
4.ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย
2. ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา
3 .ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี
4.ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย
ใบงานครั้งที่ 1
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
ตอบ การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม
ตอบ การบริหาร หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมมือกันดำเนินการ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดหรือหลายๆอย่างที่บุคคลร่วมกันกำหนดโดยใช้กระบวนอย่างมีระบบและให้ทรัพยากรตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม
การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกของสังคมในทุกๆ ด้าน นับแต่ บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ เจตคติ พฤติกรรม คุณธรรม เพื่อให้มีค่านิยมตรงกันกับความต้องการของสังคม โดยกระบวนการต่างๆ ที่อาศัยควบคุมสิ่งแวดล้อมให้มีผลต่อบุคคล และอาศัยทรัพยากร ตลอดจนเทคนิคต่างๆ อย่างเหมาะสม เพื่อให้บุคคลพัฒนาไปตรงตามเป้าหมายของสังคมที่ตนดำเนินชีวิตอยู่(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 6)และคำว่า “สถานศึกษา” หมายความ ว่าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย โรงเรียน ศูนย์การศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย ศูนย์การเรียน วิทยาลัย วิทยาลัยชุมชน สถาบันหรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่หรือมีวัตถุประสงค์ในการจัดการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติและตามประกาศกระทรวง(พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ ศาสตร์ คือ "ระบบวิชาความรู้"ส่วน
ตอบ ศาสตร์ คือ "ระบบวิชาความรู้"ส่วน
ศิลป์ ในที่นี้หมายถึง "ฝีมือในการจัดการที่ให้ความสนใจปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย'' การทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะใช้แต่ศาสตร์ (วิชาความรู้) อย่างเดียวไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของตัวเราเอง ปัญหาในองค์การ ปัญหาสังคม หรือแม้แต่ปัญหาระดับชาติ ก็คงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหา เพื่อจะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดนั่นเอง 2 ปี ผ่านไป
ตัวอย่าง โฆษณาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
ตอบ ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก
ตอบ ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษา
ระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้
1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management)ของ เฟรดเดอริก
เทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ จึงสรุปหลักวิทยาศาสตร์ของ
1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)
1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)
1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)
เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ จึงสรุปหลักวิทยาศาสตร์ของ
เทยเลอร์ได้ง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ ดร.วิชัย ตันศิริ ได้นำเสนอในหนังสือ อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
1. การแบ่งงาน (Division of Labors)
2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)
3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)
2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ ดร.วิชัย ตันศิริ ได้นำเสนอในหนังสือ อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้
2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง
2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด
2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)
2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด
2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป
2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)
3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย
3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย
3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์
3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก* ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ
3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว
3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพ
จะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหา
ระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้
1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก
2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม
3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)
การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้
1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน
2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว รางวัลทางจิตใจมีผลต่อการจูงใจในการทำงานไม่น้อยกว่าเงิน
3. การทำงานขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางสังคมมากกว่าสภาพแวดล้อมทางกายภาพคับที่อยู่ได้คับใจอยู่อยาก* ข้อคิดที่สำคัญ การตอบสนองคน ด้านความต้องการศักดิ์ศรี การยกย่อง จะส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานจากแนวคิด “มนุษยสัมพันธ์”*ระยะที่ 3 ตั้งแต่ ค.ศ. 1958 – ปัจจุบัน (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 11) ยุคการใช้ทฤษฎีการบริหาร(Administrative Theory)หรือการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ (Behavioral Science Approach) ยึดหลักระบบงาน + ความสัมพันธ์ของคน + พฤติกรรมขององค์การ
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฏีภาวะผู้นำ แยกออกได้เป็นทฤษฏีผู้นำตามคุณลักษณะ ผู้นำต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นผู้นำทฤษฏีผู้นำตามตัวแบบของวรูม เยตตัน และแจโก มุ่งวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ด้านสถานการณ์ ว่ามีผลกระทบต่อระดับความร่วมมือของพนักงานมากน้อยเพียงไรทฤษฏีภาวะผู้นำ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ แยกได้เป็นทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ ทฤษฏีพฤติกรรมผุ้นำ และทฤษฏีตามสถานการณ์
ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้ 1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้น
ทฤษฏีภาวะผู้นำ แยกออกได้เป็นทฤษฏีผู้นำตามคุณลักษณะ ผู้นำต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นผู้นำทฤษฏีผู้นำตามตัวแบบของวรูม เยตตัน และแจโก มุ่งวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ด้านสถานการณ์ ว่ามีผลกระทบต่อระดับความร่วมมือของพนักงานมากน้อยเพียงไรทฤษฏีภาวะผู้นำ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ แยกได้เป็นทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ ทฤษฏีพฤติกรรมผุ้นำ และทฤษฏีตามสถานการณ์
ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้
1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ
2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง
3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ
4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
5. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้น
ทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้ 1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน
2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้
3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง
4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ
ตอบ ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และ Superego
ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และ Superego
ป้ายกำกับ:
ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)