วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553

ใบงานครั้งที่ 5



ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
ตอบ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขจำเป็นต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกันรู้จักเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ แบ่งปันแก่กัน มีความเสมอภาคกัน ทัดเทียมกัน เอาใจเขามาใส่ใจเรา คอยสอบถามทุกข์สุขซึ่งกันและกัน การแสดงน้ำใจอันดีต่อกัน คนเราเมื่อเกิดความเห็นใจกันแล้ว ก็พร้อมที่จะให้อภัยเมื่อเกิดความผิดพลาดขึ้น เราก็อยู่กันด้วยดี ต้องมีความจริงใจต่อกัน ตัวอย่างเช่นห้องเพื่อนข้างๆ น้ำไม่ไหลเราก็ชวนเพื่อนมาอาบน้ำห้องเราหรือถ้าเพื่อนในหอพักมีปัญหากัน เราก็พยายามพูดจูงใจให้เพื่อนดีกันหรืออาจจัดกิจกรรมในหอพักเพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกันระหว่างสมาชิกในหอพัก

2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
ตอบ กลุ่มคือ การที่ทุกคนได้ระดมความคิดร่วมกัน แต่หากหัวหน้าทีมคนใดที่ระดมแล้วไม่ทำตาม สู้ประกาศเป็นคำสั่งให้ทำซะเลย ดีกว่ามาเสียเวลาระดมสมอง... คนเราอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคม ย่อมต้องมีความสัมพันธ์ที่สอดคล้องกันนั่นคือ การอยู่ร่วมกันแบบต่างคนต่างทำหน้าที่ของตนเอง โดยที่มีความสอดคล้องกัน เพื่อมิให้เกิดปัญหาติดขัดในการทำงาน ดังนั้นจึงเรียกการทำงานแบบนี้ว่าการทำงานที่เป็น"ทีม" คำว่าทำงานเป็นกลุ่ม มิได้หมายถึงการทำงานที่ไม่มีความขัดแย้งกันเลย อาจจะมีบ้าง แต่ก็มีการปรึกษาแก้ปัญหาต่อกัน โดยที่เมื่อสรุปตัดสินปัญหานั้นหมดไปแล้วก็จะจบลงบนโต๊ะตรงนั้น จะไม่นำมาต่อกันข้างนอกอีก เพราะถือว่าทุกคนส่วนใหญ่เห็นด้วยกันหมด ถึงแม้ว่าตัวเราเองจะไม่เห็นด้วยก็ตาม แต่ถ้าส่วนใหญ่เห็นด้วยแล้วก็แสดงว่า ทุกคนได้มองภาพตรงนั้นเป็นมุมเดียวกันหมดแล้ว
ตัวอย่างเช่น ในการประชุมร่วมกันเพื่อวางแผนการตลาดนั้น ผู้จัดการฝ่ายการตลาดได้ขอความเห็นจากที่ประชุม โดยให้ลูกน้องแต่ละคนได้เสนอแผนการทำการตลาด ซึ่งในที่ประชุมได้เสนอแนวคิดต่างๆ กันออกไป ถือได้ว่ามีความคิดที่สร้างสรรค์กันออกไป แต่เมื่อสุดท้ายในที่ประชุมสรุปแนวทางได้แล้ว โดยอาจจะมีการนำความคิดของแต่ละคนมาผสมรวมกัน จะทำให้สามารถอุดช่องว่างต่างๆได้ แล้วในที่ประชุมได้โหวตให้ความเห็นชอบเหมือนกันแล้ว ถือได้ว่าสิ้นสุดบนโต๊ะนั้นแล้ว แต่ในบางครั้ง อาจจะบ่อยครั้งก็ได้ ที่เคยพบเห็นการทำงานของหลายๆแห่ง ที่ผู้มีอำนาจไม่ยอมฟังความคิดเห็นจากลูกน้อง โดยที่อาจจะทำเป็นเปิดโอกาสได้หลายคนได้เสนอแนวทางออกมาแต่ในใจนั้นตัวเองได้สรุปไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป แต่ที่ทำออกมานั้นเพื่อสร้างภาพของตัวเองให้ทุกคนได้รู้ว่า "ฉันก็เป็นประชาธิปไตยนะ ทีได้ให้โอกาสพวกท่านได้แสดงความคิดเห็น" แต่หารู้ไม่ว่า ผลสรุปก็คือต้องทำตามความคิดฉัน นั่นก็ไม่ต่างจากคำว่า "เผด็จการ" นั่นเอง ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว จะมีการประชุมเพื่อระดมความคิดที่จะทำงานให้เป็นทีมไปทำไมล่ะ ก็ในเมื่อผลสรุปนั้นได้ออกมาตั้งแต่ยังไม่เกิดการประชุมเลย ในลักษณะเช่นนี้ ให้ทำเป็นจดหมายหรือไม่เป็นคำสั่งออกมาเลยจะดีกว่า ว่าให้ทำตามแนวทางดังต่อไปนี้ แล้วก็ไล่รายการลงมาเป็นข้อๆ เพื่อให้ทุกคนนำไปเป็นคู่มือเพื่อนำไปปฏิบัติต่อไป หากคิดว่าแนวทางที่ตัวเองคิดว่าต้องดำเนินไปตามนั้นแล้ว สู้ออกเป็นคำสั่งออกมาเลยจะดีกว่า อย่ามานั่งประชุมเพื่อระดมสมองให้เสียเวลาอันมีค่าที่จะต้องไปทำอย่างอื่นต่อไปเลย เพราะนั่นอาจจะเป็นสาเหตุให้ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงาน เกิดความคิดไม่ยอมรับตัวเราได้ ถ้าเป็นแบบนี้แล้วจะทำให้การทำงานร่วมกันนั้นไม่ประสบความสำเร็จก็ได้ หรือไม่อาจจะเป็นจุดอ่อนให้คู่แข่งได้ใช้โอกาสความขัดแย้งภายในของเรามาโจมตีเราได้ ซึ่งถือว่าไม่เป็นผลดีเลย จะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจได้ บางองค์กรถึงขนาดยุบไปเลยก็ได้เช่นกัน จะเห็นได้จากหลายๆองค์กรที่มีการเกิด และการล้มหายตายจากไปจากระบบธุรกิจในประเทศ โดยเฉพาะธุรกิจที่มีผู้มีอำนาจเต็มแต่เพียงผู้เดียวนั้นแล้ว จะพบว่า มีผู้บริหารระดับสูงน้อยคนนัก ที่จะไว้วางใจให้ทีมงานได้ดำเนินงานไปพร้อมๆกันมีการประสานงานกันที่ชัดเจน ถ้าจะสังเกตให้ดีจะเห็นว่าบริษัทใดๆ ที่ยอมปล่อยให้มีนักบริหารมืออาชีพได้มีโอกาสแสดงฝีมือแล้วผู้บริหารงานของบริษัทนั้นๆ จะกลายเป็นเครื่องหมายทางการค้าหรือ เป็นภาพอีกภาพหนึ่งของบริษัทนั้นๆ ไปเลยทีเดียว

3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
ตอบ หากเราทะเลาะกันเราสามารถนำหลักการมนุษย์ไปใช้ คือ
1. ยุทธศาสตร์ในการบริหารความขัดแย้ง
- ศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหาความขัดแย้ง
- วิเคราะห์ประเด็นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง
- สร้างตัวกันชน หรือตัวเชื่อมหรือคนกลางระหว่างบุคคล หรือกลุ่ม
- สร้างและพัฒนาทีมงาน
- ปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานให้เหมาะสม
- สร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
- พัฒนาผู้บริหารเพื่อแสดงบทบาทมี่เหมาะสม
2. การแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง
- ยอมรับปัญหา เลือกวิธีแก้ไข วางแผนปฏิบัติ การปฏิบัติตามแผน และการติดตามประเมินผล
- ปล่อยให้กาลเวลาผ่านไป ปัญหาจะคลี่คลายไปเองตามธรรมชาติ
- ใช้อำนาจบังคับ
- การประนีประนอน
- สร้างทีมงานให้เกิดความรู้สึกในการร่วมมือร่วมใจกัน
- การเจรจา
- พุทธวิธี ตามแนวอริยสัจ 4
- พัฒนาพฤติกรรมการบริหารของผู้นำ


4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร
ตอบ คนเรามีความคิด มีเหตุ มีผล และ มีการพัฒนาตนเองขึ้นมา ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์อื่นๆ คนเราสร้างสิ่งที่ช่วยเหลือการดำรงชีวิต ไม่ว่าจะเป็นที่อยู่อาศัย การกิน อยู่ หลับ นอน หรือแม้นแต่ทำกิจวัตรประจำวัน เราก็มีเครื่องมือต่างๆ มากมาย ที่คนเราสร้างขึ้นมาเพื่อทำให้ตนเองสดวกสบายขึ้นความสำเร็จของคนเรานั้น ก็เหมือนกับการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้ส่วนตัวเพื่อทำให้ตัวเองได้รับผลจากความสำเร็จนั้นๆ การจะสร้างเครื่องมือสักอย่าง เราต้องเชื่ออย่างมั่นใจ และ มีเหตุผล สนับสนุนว่า การทำเช่นนั้น จะส่งผลให้มีเครื่อมือนั้นมาใช้งานจริงๆ เราต้องรู้องค์ประกอบของเครื่องมือฉันใด เราก็ต้องรู้ว่าเราจะประสบความสำเร็จต้องมีอะไรเป็นองค์ประกอบด้วยฉันนั้น เราจึงต้องคิดย้อนกลับจากอนาคตที่เราต้องการจะเป็น หรือ ต้องการประสบความสำเร็จ แล้วแค่นั้นยังไม่เพียงพอ ยังต้องมีแนวความคิดที่ดี และ สร้างสรร หลายคนคิดว่า ตัวเองไม่มีความสามารถไปถึงจุดนั้น ก็จะทำให้เขาไม่มีความสามารถเช่นนั้นด้วย แต่ถ้ามีมุมมองว่า คุณจะทำอย่างไรให้ตัวคุณเองประสบความสำเร็จ หรือ จะสร้างนิสัยอย่างไรให้เกิดขึ้นกับตนเอง สิ่งเหล่านี้เป็น ทัศนคติเชิงบวก ที่ต้องสร้างให้เกิดขึ้นภายในความคิดของเราให้ได้ การมีทัศนคติเชิงบวก จะทำให้เรามีแรงผลักดันทั้งภายใน และ ภายนอก ในการทำสิ่งใดๆให้ประสบความสำเร็จ คนเราถ้ามีทัศนคติเชิงบวก มากเท่าไหร่ ก็เปลี่ยนแปลงตัวเองได้รวดเร็วเท่านั้นทัศนคติเชิงบวก จะนำมาซึ่ง การนับถือตัวเอง ทำให้เรามองโลกในแง่ดี มีความคิดที่จะมุ่งสู่ทิศทางที่ต้องการ เมื่อสิ่งที่ดีๆเหล่านี้เกิดขึ้นในตัว ก็จะทำให้เราเปลี่ยนแปลงได้อย่างมาก แต่การสร้างให้เรามีทัศนคติเชิงบวกนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการที่จะสร้างให้มีทัศนคติเชิงบวกมีหลากหลายวิธี แต่ผมใช้วิธีเหล่านี้...1. เปลี่ยนความคิดเชิงตำหนิ กลายมาเป็นยอมรับความเป็นจริงของตนเองส่วนใหญ่เวลาที่คนเราไม่พอใจอะไร จะตำหนิคนอื่น หรือ สิ่งรอบข้างก่อนเสมอ ที่ทำให้เขาไม่พอใจ หรือ ขัดใจ หรือ ไม่ได้อย่างที่หวัง ชีวิตผมส่วนใหญ่มักจะหาเหตุ และ ผลของสิ่งที่ทำให้ผมไม่สบายใจก่อน แต่บางครั้ง เหตุและผล ก็ไม่สามารถจะยับยั้งความรู้สึกต่ออารมณ์ได้ แต่อย่างน้อย เวลาเรารู้ว่า เหตุคืออะไรที่ทำให้เราเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ จะทำให้เรามีความคิดเชิงบวกได้มากขึ้น ถึงแม้นว่า เราจะมีปฏิกริยาบางอย่างที่ตรงข้ามหรือ กลายเป็นแบบคนอื่นๆทั่วไปที่กระทำกับเรื่องเหล่านั้น ก็ไม่แปลก แต่อย่างน้อย เราต้องเข้าใจเหตุผลจริงๆ และพยายามยอมรับมันให้ได้ เปลี่ยนการตำหนิตัวเอง หรือตำหนิสิ่งแวดล้อม กลายมาเป็นเหตุเป็นผล และ ยอมรับความเป็นจริงเพื่อให้เข้าใจสถานการณ์อย่างถ่องแท้2. หากจะต่อว่าลูกน้อง ให้หาข้อดีของเขาสัก 5 ข้อ ก่อนจะต่อว่าเขา 1 ข้อมีอยู่ช่วงหนึ่งของชีวิตการเป็นผู้บริหารระดับต้น ผมจะไม่ต่อว่าลูกน้องผมเลยหากผมไม่สามารถหาข้อดีมาบอกเขาได้ 5 ข้อ นั่นหมายถึง ผมตั้งข้อจำกัดให้กับตัวเอง ให้คิดถึงแต่สิ่งที่ดีงามของลูกน้องก่อน เพื่อไม่ให้การต่อว่าเขานั้น ทำไปด้วยความใจร้อน หรือ เอาแต่ความคิดของตนเองเป็นหลัก ผลที่ได้คือ ผมเห็นจุดแข็งของพวกเขา และ ดึงเอาศักยภาพของพวกเขาออกมา ทำให้พวกเขาทำงานได้ดีขึ้น โดยต่อว่าเขาน้อยมาก และ ผมก็จะเข้าใจพวกเขามากขึ้น เห็นใจพวกเขามากขึ้น3. มองให้เห็นว่า สิ่งที่เรากำลังทำนั้น ส่งผลดีกับใครบ้างอยู่เสมอๆถ้าเราคิดว่า สิ่งที่เราทำนั้นส่งผลดีกับคนอื่น โดยคนอื่นอาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ จะทำให้เรามีแรงที่จะทำให้กับคนอื่นได้มากขึ้น การกระทำที่หวังจะทำเพื่อประโยชน์ให้กับคนอื่นนั้น จะเป็นการกล่อมเกลาจิตใจของคนเราให้มองเห็นคุณค่าของตนเอง และ เห็นคุณค่าของคนอื่นๆ ไม่ว่าเราจะรู้จัก หรือไม่รู้จัก ก็ตาม ยิ่งถ้าเราทำเพื่อไม่หวังผลด้วยแล้ว สิ่งเหล่านี้จะหล่อหลอมความคิดให้กลายเป็นคนชอบช่วยเหลือ และ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ แต่ก็ต้องศึกษาคนให้รู้เท่าทันคนด้วย จะทำให้เราเข้าใจเขาได้มากยิ่งขึ้นด้วย4. สร้างวินัยให้กับตัวเองให้เป็นคนที่ทำงานให้เสร็จทันเวลากำหนด หรือ เสร็จก่อนกำหนด ทำให้เรามีความรู้สึกว่า งานเหล่านั้นเป็นสิ่งที่เรารับผิดชอบการรับผิดชอบตนเอง สร้างวินัยให้กับตนเองทำให้เราเห็นคุณค่าของเวลา เห็นคุณค่าของตนเอง และ เห็นความสามารถของตนเองว่าอยู่ระดับใด อีกทั้งยังทำให้เราเข้าใจตนเองได้มากขึ้น ขอความช่วยเหลือ หรือ คำแนะนำจากคนอื่นได้ทันท่วงทีสิ่งเหล่านี้เป็นวิธีการที่ผมหล่อหลอมแนวความคิดของผมเสมอๆ ถึงแม้นว่ามันอาจจะไม่ดี แต่แค่นี้ผมก็คิดว่า มันทำให้ผมมีมุมมองทางบวกได้มากขึ้นครับ และหวังว่ามันอาจจะช่วยเพื่อนๆได้แนวความคิดที่สามารถเอาไปพัฒนาต่อได้...





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น